สวัสดี

ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในมาเลเซีย

แชร์:
Favorite (38)

กันยายน 2562

มาเลเซียถูกจัดเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง เช่นเดียวกับไทย โดยมีรายได้ต่อหัวประชากร (GDP per capita (PPP)) สูงเป็นอันดับสามในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และบรูไน ทำให้มองได้ว่าชาวมาเลเซียเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทำให้ผู้บริโภคชาวมาเลเซียมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ของประเทศ รวมถึงวัฒนธรรมการปรุงอาหารที่มีการผสมผสานกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชาวมาเลเซียอีกด้วย ดังนั้น ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสของมาเลเซียจึงเป็นตลาดหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากมีความต้องการบริโภคภายในประเทศค่อนข้างสูง ประกอบกับชาวมาเลเซียมีความคุ้นเคยและชื่นชอบรสชาติของสินค้าอาหารไทยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวมาเลเซียในแต่ละพื้นที่โดยละเอียด รวมถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ชั่วโมงทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ประกอบการวางแผนกลยุทธ์ในการเจาะตลาดซอสและเครื่องปรุงรสของมาเลเซียอย่างมีประสิทธิภาพ

สถานการณ์ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในมาเลเซีย
อุตสาหกรรมซอสและเครื่องปรุงรสของมาเลเซียมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยใน
ปี 2561 มีการจำหน่ายในประเทศ 90,700 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1,303.5 ล้านริงกิต หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 2.7 ต่อปี ในเชิงมูลค่า และร้อยละ 6.3 ต่อปี ในเชิงมูลค่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2557-2561) (รูปที่ 1) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวมาเลเซียมากขึ้น เนื่องจากชาวมาเลเซียจำนวนมากมีภาระการงานที่ต้องทำมากขึ้น ทำให้จำนวนชั่วโมงทำงานแต่ละวันยาวนานขึ้น ประกอบกับวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อรูปแบบความต้องการบริโภคสินค้าซอสและเครื่องปรุงรสในตลาดมาเลเซียเช่นกัน กล่าวคือ ผู้บริโภคชาวมาเลเซียมีความต้องการสินค้าที่มีขนาดบริโภคเล็กลง ตามลักษณะครอบครัวในปัจจุบันที่มีจำนวนสมาชิกน้อยลง และมีผู้ที่อาศัยอยู่คนเดียวมากขึ้น ดังนั้น หากซื้อสินค้าขนาดปกติอาจจะบริโภคไม่ทันวันหมดอายุของสินค้า และบางครั้งอาจต้องเหลือทิ้ง 
ซึ่งผู้ผลิตหลายรายต่างให้ความสนใจในประเด็นความต้องการดังกล่าว และพัฒนาสินค้าที่มีขนาดพอเหมาะสำหรับการบริโภคคนเดียว และผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาหารรับประทานเองบ่อยครั้งนัก เช่น ผงซอสสำเร็จรูป ขนาด 30 กรัม ซอสถั่วเหลือง 370 มิลลิลิตร ซอสหอยนางรม ขนาด 225 กรัม เป็นต้น  นอกจากนี้สินค้าขนาดเล็กยังมีข้อดีในแง่ของการเก็บรักษาที่สะดวกและประหยัดพื้นที่ ซึ่งเหมาะกับพื้นที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก เช่น อพาร์ทเมนต์

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527