สวัสดี

ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในอินโดนีเซีย

แชร์:
Favorite (38)

กันยายน 2561

อินโดนีเซียเป็นตลาดหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนและผู้ส่งออกทั่วโลก จากจำนวนประชากรในประเทศที่มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ประกอบกับกำลังซื้อของผู้บริโภคชาวอินโดนีเซียที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะในเมืองเศรษฐกิจหลัก อาทิ จาการ์ตา บาหลี สุราบายา เมดาน และบันดุง อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมาพบว่าภาคการผลิตสินค้าอาหารของอินโดนีเซียยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำเป็นต้องนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ ซึ่งสังเกตได้จากมูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารที่สูงขึ้นมาโดยตลอด โดยเฉพาะกลุ่มซอสและเครื่องปรุงรส ดังนั้น จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายการส่งออกสินค้าซอสและเครื่องปรุงรสเข้าสู่ตลาดอินโดนีเซีย

สถานการณ์ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในอินโดนีเซีย

ตลาดซอสและเครื่องปรุงรสในอินโดนีเซียมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2560 อินโดนีเซียมีปริมาณการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวภายในประเทศรวม 588,700 ตัน มูลค่า 17,685.8 ล้านรูเปียห์ หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.9 ต่อปี ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 11.3 ต่อปี ในเชิงมูลค่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2556-2560) (รูปที่ 1) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากพฤติกรรมการรับประทานของชาวอินโดนีเซียที่ชื่นชอบการเติมเครื่องปรุง โดยเฉพาะซอสบนโต๊ะอาหาร อาทิ ซีอิ๊วหวาน และซอสพริก ในอาหารที่พวกเขารับประทานประจำวัน แม้ว่าชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะนิยมซอสพริกที่ปรุงเองแบบสดใหม่ แต่จากวิถีชีวิตที่เร่งรีบและไม่มีเวลามากนักในการเตรียมอาหาร ส่งผลให้ชาวอินโดนีเซียบางส่วนหันมาเลือกรับประทานซอสแบบบรรจุเสร็จเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้การขยายตัวของร้านอาหารชาติตะวันตกในอินโดนีเซียยังทำให้พวกเขาเปิดรับวัฒนธรรมอาหารต่างชาติมากขึ้น และเริ่มคุ้นเคยกับอาหารที่เสริฟพร้อมกับมายองเนสด้วยเช่นกัน ซึ่งส่งผลให้มายองเนสเป็นชนิดสินค้าที่มีการเติบโตรวดเร็วที่สุด ด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 13.6 ต่อปี ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 14.7 ต่อปี ในเชิงมูลค่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ ตามด้วยซอสมะเขือเทศ และน้ำสลัด มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10 และ 8.8 ต่อปี ในเชิงปริมาณ และร้อยละ 13.5 และ 13.8 ต่อปี ในเชิงมูลค่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ ตามลำดับ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527