สวัสดี

ทิศทางการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าปศุสัตว์โลก

แชร์:
Favorite (38)

มีนาคม 2559

แหล่งอาหารโปรตีนโลก ในวันนี้เมื่อเราพูดถึงผลผลิตจากภาคปศุสัตว์ในฐานะแหล่งอาหารโปรตีน เราไม่อาจมองได้เพียงว่ามีเพียงเนื้อสัตว์ เพราะในมุมของผู้บริโภคเริ่มมีการแบ่งแยกและมองหาโปรตีนทางเลือกจากแหล่งอื่นๆ มากขึ้น มุมของนักอนุรักษ์ ที่รณรงค์ลดการปล่อยก็าซเรือนกระจก ลดการใช้น้ำ และการปล่อยของเสียที่เกินจำเป็นในภาคปศุสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคหลายกลุ่มเริ่มคิดทบทวนความคุ้มค่าในการแลกเปลี่ยนระหว่างอาหารกับความยั่งยืน

ในการประชุม The Future of Protein , The Protein Challenge 2040 : Shaping the Future of Food. ของ Forum to the Future ที่เกิดจากการรวมตัวของหน่วยงานในหลายประเทศเมื่อต้นปี 2559 นี้ ทั้งมหาวิทยาลัย องค์กรไม่แสวงหากำไร ธุรกิจค้าปลีก และบริษัทที่มีชื่อเสียงชั้นนำ เช่น Cargill, Seafish, Hershey, Kellogg , Waitrose, Nestle  ได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับทิศทางโปรตีนโลก

โดยมีคำถามว่า “ทำอย่างไรจึงจะมีโปรตีนเพียงพอสำหรับประชากร  9  พันล้านคน ที่จะเข้าถึงอาหารโปรตีนได้อย่างทั่วถึง มีสุขภาพดี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม?”

ซึ่งผลจากการประชุมอาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้ทั้งหมด แต่ทุกคนก็ได้แสดงความมุ่งมั่นในทิศทางที่จะผลักดันให้เกิดขึ้นต่อไปนี้  โดยเมื่อกล่าวถึงโปรตีน จะแบ่งอาหารที่เป็นแหล่งให้โปรตีนออกเป็น  3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. โปรตีนจากสัตว์ ได้แก่เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล
  2. โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วและธัญพืช และ
  3. โปรตีนทางเลือก ซึ่งในกลุ่มที่ 3 นี้ มีทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย แมลง โปรตีนจากการสังเคราะห์หรือเนื้อสัตว์ที่ได้จากสัตว์ที่ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

จากงานวิจัยของนิวซีแลนด์ได้สรุปภาพรวมแหล่งโปรตีนของโลกที่มนุษย์บริโภคไว้ พบว่าแหล่งโปรตีนที่คนเราบริโภคอันดับ 1 มาจากธัญพืชถึง  40.4%  รองลงมาคือจากเนื้อสัตว์ 17.8% และอันดับ 3 มาจากนม 10.1%  มาจากปลาและสัตว์ทะเล 6.4% อีก 5.7 % มาจากผัก และ 4.9% มาจากพืชตระกูลถั่ว จากข้อมูลชุดนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าแท้จริงแล้วโปรตีนที่คนทั่วโลกบริโภคนั้น มีน้ำหนักอยู่ที่พืชมากกว่า  ดังนั้นการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้

ด้วยเหตุนี้  The Protein Challenge 2040 จึงได้มีข้อตกลงแนวทางที่จะดำเนินการอย่างมุ่งมั่นร่วมกัน  6 ข้อ โดยแบ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องทำทันที 3 ข้อ ดังนี้

  1. เพิ่มการบริโภคโปรตีนให้มีสัดส่วนจากพืชให้มากขึ้น โดยการรณรงค์จากภาครัฐ การทำกิจกรรมทางการตลาดของบริษัทต่างๆ การพัฒนานวัตกรรมอาหารแปรรูปพร้อมรับประทานจากแหล่งโปรตีนจากพืช
  2. ขยายการผลิตอาหารสัตว์แบบยั่งยืนด้วยนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์  โดยการวิจัยและพัฒนาแหล่งอาหารสัตว์ใหม่ๆที่ใช้ทรัพยากรลดลงกว่าการปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น อาจมาจากแมลงหรือ methane based
  3. ปิดช่องว่างของระบบโปรตีน หมายถึง ในห่วงโซ่ของโปรตีนมีของเสียและถูกทิ้งจำนวนมาก ทั้งอาหารที่เหลือจากการบริโภค ของเสียจากกการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร  การผลิตแป้ง ใบซูการ์บีต เหล่านี้ล้วนมีโปรตีนเป็นส่วนผสม โดยอาหารที่เหลือจากการบริโภคมีสัดส่วนถึง 30% ที่ถูกทิ้ง หากลดความสูญเสียลงได้ก็จะมีแหล่งโปรตีนเพิ่มขึ้น

อีก 3 แนวทางที่ต้องดำเนินการ  ได้แก่

4. พัฒนาพืชที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งโปรตีนสำหรับชุมชน

5. ขยายการผลิตประมงจากากรเพาะเลี้ยงแบบยั่งยืนเพื่อใช้เป็นอาหารและอาหารสัตว์

6. ปรับปรุงคุณภาพดิน เพื่อให้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

จะเห็นได้ว่า ทั้ง 6 ข้อที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ช้าก็เร็ว เป็นประเด็นที่ส่งผลมาต่อภาคปศุสัตว์ทั้งสิ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527