สวัสดี

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร 2563

จัดทำข้อมูล ณ วันที่ 2 พฤษภาคม 2563 
 
เกษตรกรรม
o การใช้ที่ดิน
 
ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ในปี 2560 เวียดนามมีพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมพื้นฐานได้ 121,688 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 39.2 ของพื้นที่แผ่นดิน (land area) ทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ดินที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก (Arable land) 69,883 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 57.4 ของพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม หรือร้อยละ 22.5 ของพื้นที่แผ่นดินทั้งหมด ตามด้วยที่ดินที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชยืนต้น (Permanent crops) และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ (Permanent pastures) 45,385 และ 6,420 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 37.3 และ 5.3 ของพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม หรือร้อยละ 14.6 และ 2.1 ของพื้นที่แผ่นดินทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้เป็นพื้นที่เขตป่าไม้ 147,730 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 47.7 ของพื้นที่แผ่นดินทั้งหมด (รูปที่ 1)
 
รูปที่ 1: การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรในเวียดนาม ปี 2560
 
 
ที่มา: The Food and Agriculture Organization (FAO).
 
o มูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน
ข้อมูลจาก The Central Intelligence Agency (CIA) ประมาณการว่า ในปี 2560 ภาคเกษตรกรรมของเวียดนามจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจร้อยละ 15.3 ของ GDP ทั้งประเทศ หรือประมาณ 33,721.2ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ ร้อยละ 40.3 ของจำนวนประชากรวัยแรงงานที่มีงานทำทั้งหมด (labor force) ในปี 2560 หรือประมาณ 22.1 ล้านคน ทั้งนี้ เวียดนามเป็นอีกประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการเกษตร โดยมีความพยายามปรับรูปแบบการทำการเกษตรสู่ระบบการเกษตรสมัยใหม่ (Modern farming) โดยนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ให้เกิดผลิตภาพการผลิตสูงสุด ตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์ข้าวทนทานต่อดินเค็ม การปลูกพืชเศรษฐกิจทางเลือก การทำเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการทำเกษตรในร่ม (Indoor farming) หรือการเพาะปลูกพืชในเรือนกระจก ซึ่งจะช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกรชาวเวียดนาม
 
o การผลิตสินค้าเกษตร (ไม่รวมประมง)
ข้อมูลจาก The Food and Agriculture Organization (FAO) ระบุว่า ในปี 2561 เวียดนามมีปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรอาหารที่สำคัญในกลุ่มพืชผล (crops) 113.0 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตข้าวเปลือก อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด (Maize) มีปริมาณ 44.0  17.9  9.8 และ 4.9 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.0  15.9  8.7 และ 4.3 ของปริมาณการผลิตพืชผลทางการเกษตรทั้งหมดในเวียดนาม ตามลำดับ  นอกจากนี้เวียดนามยังมีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญอื่นอีก เช่น กาแฟ ชา ถั่วเหลือง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กล้วย มะพร้าว แตงโม เป็นต้น  สำหรับการเลี้ยงปศุสัตว์ในเวียดนาม พบว่ามีปริมาณสัตว์มีชีวิตรวม 432.9 ล้านตัว ส่วนมากเป็นการเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร และโค มีจำนวน 316.9  76.9  28.2 และ 5.8 ล้านตัว หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.2 17.8 6.5 และ 1.3 ของปริมาณการเลี้ยงปศุสัตว์ทั้งหมดในเวียดนาม ตามลำดับ  โดยเวียดนามมีพื้นที่ทำการเกษตรที่สำคัญ อาทิ เมืองเซินลา (Son la) เป็นแหล่งฟาร์มโคนม  เมืองด่องไน (Dong Nai) เป็นแหล่งเพาะปลูกถั่วเหลือง กาแฟ ข้าวโพด อ้อย เพื่อป้อนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร  เมืองเกิ่นเธอ (Can Tho) เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และเมืองเตี่ยงยาง (Tien Giang) เป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้เมืองร้อน
 
อุตสาหกรรมอาหารภาพรวม
 
o สถานการณ์ปัจจุบัน
ในปี 2562 ตลาดอุตสาหกรรมอาหารบรรจุเสร็จ (ไม่รวมเครื่องดื่ม) ของเวียดนามมีทิศทางการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการค้าปลีกในประเทศประมาณ 302,351 พันล้านด่ง หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รูปที่ 2) จากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เข้มแข็งและระดับรายได้ของชาวเวียดนามที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้พวกเขามีกำลังซื้อสูงขึ้นและมีความต้องการสินค้าอาหารสำเร็จรูปมากขึ้น หรือสินค้าที่มีการบรรจุหีบห่อเรียบร้อยและมีตราสินค้าที่น่าเชื่อถือ ประกอบกับการขยายสาขาของร้านค้าสะดวกซื้อจำนวนมากและการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายของห้างค้าปลีก ทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าอาหารบรรจุเสร็จของผู้บริโภคชาวเวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านที่มักจะเข้าไปซื้ออาหารสดและเครื่องปรุงอาหารจากร้านค้าสะดวกซื้อใกล้ละแวกบ้าน ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานจะแวะซื้อขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว อาหารเส้นกึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์นม จากร้านค้าสะดวกซื้อที่อยู่ระหว่างทางไปโรงเรียนหรือที่ทำงาน ทั้งนี้ แม้ช่วงที่ผ่านมาจะเกิดข่าวลือในแง่ลบ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527