สวัสดี

ธุรกิจค้าปลีก

โดยทั่วไปธุรกิจค้าปลีกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน (Store-based retailing) และแบบไม่มีหน้าร้าน (Non store retailing) ได้แก่ การขายผ่านตู้อัตโนมัติ (Vending) การขายสินค้าตามบ้าน (Home shopping)  การขายผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet retailing) และการขายตรง (Direct selling) ซึ่งมีสัดส่วนการจำหน่ายไม่ถึงร้อยละ 3 ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน ที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ สำหรับเป็นรูปแบบการค้าปลีกที่มีตลาดขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ แบบจำหน่ายของชำ (Grocery retailing) เช่น สินค้าอาหารแห้ง  อาหารกระป๋อง อาหารสด รวมถึงสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร และแบบจำหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่ของชำ (Non-grocery retailing) หรือสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น เสื้อผ้า  เครื่องใช้ไฟฟ้า  ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

ธุรกิจค้าปลีกในแคนาดาสามารถสร้างการจ้างงานได้ประมาณ 2.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน  ร้อยละ 12.6 ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ และในปี 2556 มีมูลค่าการค้าปลีกรวมประมาณ 334,533.6 ล้านดอลลาร์แคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน   โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 97 ของมูลค่าการค้าปลีกรวมมาจากการค้าปลีกแบบมีหน้าร้าน มีมูลค่า 324,814.8 ล้านดอลลาร์แคนาดา   ขณะที่ แบบไม่มีหน้าร้านมีมูลค่าเพียง 9.7 พันล้านดอลลาร์แคนาดา (ตารางที่ 1) ซึ่งแม้จะมีส่วนแบ่งตลาดที่ค่อนข้างน้อย แต่ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกโดยรวมมีทิศทางที่ดี ก็คือ การเติบโตของธุรกิจค้าปลีกแบบไม่มีหน้าร้าน ด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.7 ต่อปี 

ปัจจุบันประเทศแคนาดามีห้างค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าอาหารประมาณ 20,611 แห่ง และในปี 2555 การค้าปลีกสินค้าอาหาร (ไม่รวมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จำหน่ายในร้านขายเหล้า) มีมูลค่าการจำหน่ายทั้งสิ้น 87,112 ล้านดอลลาร์แคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน (รูปที่ 1) ซึ่งคาดว่าสินค้าอาหารจะสามารถสร้างมูลค่าการจำหน่ายในธุรกิจค้าปลีกได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี   ทั้งนี้ พบว่าร้อยละ 63.7 ของมูลค่าการค้าปลีกสินค้าอาหารในแคนาดามาจากร้านขายของชำประเภทซูเปอร์มาร์เก็ต แต่มีแนวโน้มการขยายตัวลดลง เมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 66.8  ขณะที่ห้างค้าปลีกประเภทอื่น อย่าง Mass merchandise stores    Warehouse clubs    ร้านขายยา (Drug stores)   ร้านขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty stores) และร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กในสถานีเติมน้ำมัน (Gas station) กลับมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 2)   นอกจากนี้ ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ อย่าง Wal-Mart Canada และ Costco รวมถึงห้างร้านที่จำหน่ายสินค้าที่ไม่ใช่ของชำ เช่น Canadian Tire   Shoppers Drug Mart และ London Drugs ได้อาศัยกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเพิ่มการวางสินค้าอาหารในร้าน เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้บริโภคในการหาซื้ออาหาร

1 Mass merchandise store เป็นร้านค้าปลีกที่จำหน่ายสินค้าหลากหลายจำนวนมาก ตั้งแต่ Hardware  Software จนถึงสินค้าอาหารและของชำอื่น
2  Warehouse club เป็นร้านค้าปลีกกึ่งขายส่ง ที่ผู้ซื้อต้องสมัครสมาชิกกับร้าน ซึ่งมีลักษณะเหมือนโกดังสินค้า โดยจะขายสินค้าเป็นแพ็คขนาดใหญ่ (Bulk sales) 

 

เมื่อพิจารณาอัตราการเติบโตของการจำหน่ายในตลาดค้าปลีกสินค้าอาหารในแคนาดา พบว่า มีกลุ่มประเภทสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังตารางที่ 3

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหาร

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527