สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2557 แนวโน้มไตรมาสที่ 2 และปี 2557

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

      ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบ โดยรวมของไทยในไตรมาสแรกีป 2557 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผลไม้และปศุสัตว์เป็นหลัก โดยกลุ่มไม้ผลดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมะม่วง ลำใยเกรดเอ และกล้วยหอมทอง กลุ่มปศุสัตวืดัชนีผลลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เช่นกัน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เป็นหลัก ส่วนกลุ่มธัญพืชพืชอาหารหดตัวลง ร้อยละ 0.6 ตามผลผลิตข้าวนาปรังที่ลดลงเพราะไม่มีน้ำในการเพาะปลูก 

 

1. อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2557

          1.1 วัตถุดิบ

          ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและวัตถุดิบ โดยรวมของไทยในไตรมาสแรกีป 2557 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตามการเพิ่มขึ้นของกลุ่มผลไม้และปศุสัตว์เป็นหลัก โดยกลุ่มไม้ผลดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมะม่วง ลำใยเกรดเอ และกล้วยหอมทอง กลุ่มปศุสัตวืดัชนีผลลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เช่นกัน จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสุกร ไก่เนื้อ และไข่ไก่ เป็นหลัก ส่วนกลุ่มธัญพืชพืชอาหารหดตัวลง ร้อยละ 0.6 ตามผลผลิตข้าวนาปรังที่ลดลงเพราะไม่มีน้ำในการเพาะปลูก เช่นเดียวกับกลุ่มประมง  โดยเฉพาะผลผลิตกุ้งที่ยังไม่พบสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนนัก ทำให้ผู้ประกอบการต้องนำเข้าวัตถุดิบกุ้งจากต่างประเทศ โดยเฉพาะกุ้งจากอินเดียมาแปรรูปจำหน่ายให้กับลูกค้า โดยไตรมาสแรกปี 2557 ปริมาณนำเข้ากุ้งเพิ่มขึ้นกว่า 206.0%  ส่วนสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่ผลผลิตหดตัวลง เช่น ทุเรียน สับปะรด โดยทุเรียนรวมทั้งผลไม้อื่น ๆ เช่น เงาะ มังคุด หดตัวลงในช่วงนี้ เนื่องจากผลลผลิตออกสู่ตลาดล่าช้ากว่าฤดูกาลปกติ หลังจากประสบปัญหาภาวะอากาศหนาวยาวนานในช่วงต้นฤดูกาล ขณะที่สับปะรดมีปริมาณผลผลิตลดลงหลังจากสับปะรดผลสด มีราคาตกต่ำในปีก่อน ทำให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกซึ่งเป็นไปตามวัฎจักรของสับปะรดที่เกิดขึ้นทุก ๆ 3-4 ปี

          ราคาสินค้าเกษตรและวัตถุดิบอาหาร  มีทิศทางชะลอตัวตามราคาข้าวเปลือกที่หดตัวลงหลังขากสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าว ประกอบกับอุปทานข้าวโลกอยู่ในภาวะตึงตัวจากการระบายข้าวของไทย ปัจจัยดังกล่าว กดดันราคาข้าวในตลาดโลกให้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรในกลุ่มอื่น ๆ ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น โดยกลุ่มไม้ผลมีดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ออกสู่ตลาด กลุ่มปศุสัตว์ดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงจากการที่สภาพอากาศร้อน ทำให้สัตว์โตช้า และเกษตรผู้เลี้ยงต้องเพิ่มการดูแลสัตว์เลี้ยงในฟาร์มมากขึ้น ส่วนราคากุ้งยังคงเพิ่มขึ้นกว่า 100% เทียบกับราคาในปีก่อนที่จะเกิดการระบาดของโรค EMS โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2557 ต้องรอดูสถานการณืผลผลิตกุ้งรอบใหม่ที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคมนี้ ส่วนราคาสินค้าเกษราในตลาดโลก ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยตามราคาพลังงาน โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของราคา สินค้าโภคภัณฑ์ ในกลุ่มวัตถุดิบนำเข้าของไทย เช่น ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และโลหะบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

          ราคาวัตถุดิบกลุ่มสินค้าสัตว์น้ำสำคัญ ปรับตัวสวนทางกัน ในไตรมาสแรกปี 2557 ราคาวัตถุดิบปลาสคิปแจ็คทูน่าลี่ยอยู่ที่ 1,225 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ลดลงกว่าร้อยละ 40 จากระดับราคาสูงสุดกว่า 2,130 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อต้นในช่วงปี 2555

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527