สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 และแนวโน้ม ปี 2557

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 หดตัวลงต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การส่งออก รวมถึงการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้เศรษฐกิจในส่วนของการผลิตและการส่งออกปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงจากผลพวงของการชุมนุมทางการเมืองหลังจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 9 เดือนแรก

 

1. อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 หดตัวลงต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การส่งออก รวมถึงการบริโภคภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้เศรษฐกิจในส่วนของการผลิตและการส่งออกปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการบริโภคในประเทศชะลอตัวลงจากผลพวงของการชุมนุมทางการเมืองหลังจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วง 9 เดือนแรก

          1.1 การผลิต

          การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 หดตัวลงต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาลและเครื่องดื่ม) ลดลงร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออกหดตัวลงร้อยละ 28.8 นำโดยกลุ่มอุตสาหกรรมกุ้งที่หดตัวลงร้อยละ 42.4 และอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องหดตัวลงร้อยละ 37.0 ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมกุ้งยังประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ส่วนอุตสาหกรรมสับปะรดหดตัวลงตามปริมาณวัตถุดิบรวมทั้งความต้องการของตลาดหลักโดยเฉพาะสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น สำหรับกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศหดตัวลงร้อยละ 6.2 นำโดยอุตสาหกรรมไก่ที่หดตัวลงร้อยละ 21.5 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์สำเร็จรูปหดตัวลงร้อยละ 14.8 และอุตสาหกรรมน้ำมันพืชหดตัวลงร้อยละ 3.0

          ทั้งนี้ ทิศทางการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นส่งออกยังอญุ่ในภาวะหดตัวรุนแรงกว่าไตรมาสก่อนขณะที่กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศมีทิศทางการผลิตดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบทสรุปภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2556 ยังอยู่ในภาวะหดตัว แต่ก็หดตัวน้อยลง เมื่อเทียบกับในช่วง 2 ไตรมาสก่อนหน้า

          1.2 การส่งออก

          การส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2556 มีมูลค่า 231,156 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกสินค้าหลัก ๆ ยังคงหดตัวต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าว กุ้ง ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ปลาหมึกสดแช่แข็ง และปลาซาร์ดีนกระป๋อง อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าส่งออกหลัก ๆ อีกหลายรายการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ไก่ เครื่องปรุงรส น้ำมันปาล์ม น้ำผักผลไม้ และข้าวโพดหวานปรุงแต่ง สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลทำให้การส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการหดตัวที่ค่อนข้างรุนแรง ตลอดช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา

          นอกจากนี้ การส่งออกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 ยังได้รับอานิสงส์จากเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่าลงรายได้จากการส่งออกแปลงกลับมาเป็นเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุที่เงินบาทเริ่มอ่อนค่าลงเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากเกิดภาวะเงินทุนไหลออกจากตลาดทุนไทยอันเนื่องมาจากข่าวคราวการปรับลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการสหรัฐฯ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527