สวัสดี

Quarterly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2555 และแนวโน้มปี 2556

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :


        ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2555 หดตัวลงร้อยละ 2.6 หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตามทิศทางภาคส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า
          หลักอย่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศในยุโรปที่ชะลอตัวโดยอุตสาหกรรมที่เน้นส่งออกหดตัวลงถึงร้อยละ 9.0 เนื่องจากการหดตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ (กุ้ง) และผักผลไม้ (สับปะรด) ซึ่งนอกจากภาวะเศรษฐกิจแล้ว การเผชิญกับ ภาวะโรคระบาด ในช่วงปลายปี ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมกุ้ง ขาดแคลน วัตถุดิบในการแปรรูปเพื่อส่งออก

 

อุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2555 และแนวโน้มปี 2556

20 กุมภาพันธ์ 2556


1. สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารในปี 2555
          ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2555 หดตัวลงร้อยละ 2.6 หดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตามทิศทางภาคส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกเฉพาะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า


หลักอย่างสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศในยุโรปที่ชะลอตัวโดยอุตสาหกรรมที่เน้นส่งออกหดตัวลงถึงร้อยละ 9.0 เนื่องจากการหดตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ (กุ้ง) และผักผลไม้ (สับปะรด) ซึ่งนอกจากภาวะเศรษฐกิจแล้ว การเผชิญกับภาวะโรคระบาดในช่วงปลายปี ส่งผลทำให้อุตสาหกรรมกุ้งขาดแคลน วัตถุดิบในการแปรรูปเพื่อส่งออก
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นจำหน่ายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ฟื้นตัวหลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมในปีก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ เครื่องปรุงรส ที่การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 ตามความต้องการ บริโภคทั้งในและต่างประเทศ 


ที่ขยายตัวกลุ่มเนื้อสัตว์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อทำตลาดทั้งในและต่างประเทศ กลุ่มอาหารสัตว์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ตามความต้องการของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ในประเทศและภายในภูมิภาคที่ขยายตัว
          ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยปี 2555 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีมูลค่าส่งออก 971,689 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าในอัตราร้อยละ 0.8 โดยสินค้าส่งออกหลัก 10 กลุ่ม จากทั้งหมด 13 กลุ่ม ขยายตัวเพิ่มขึ้น และในจำนวนนี้มีสินค้า 6 จาก 10 กลุ่ม ที่มีอัตราขยายตัวของการส่งออกค่อนข้างสูง 


 


(> ร้อยละ 10) ได้แก่ น้ำตาลทราย (+11.7%) ,ปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป (+19.1%), ไก่และสัตว์ปีก (+10.3%) , ผักผลไม้สด (+21.7%), อาหารสัตว์ (+16.6%), และปลากระป๋องและปลาแปรรูป (+22.7%)
 


          ส่วนกลุ่มสินค้า ที่มูลค่าส่งออกลดลงมีเพียง 3 กลุ่ม ได้แก่ ข้าว (-27.1%), กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป (+12.5%) และผักผลไม้แปรรูป (-7.3%) อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารส่งออกทั้งสามกลุ่มดังกล่าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในอันดับที่ 1,3 และ 6 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนส่งออกรวมกันสูงถึงร้อยละ 31 ดังนั้น การหดตัวของทั้ง 3 กลุ่มสินค้า จึงส่งผลกระทบมากทำให้ภาพรวมส่งออกอาหารไทยในปี 2555 ขยายตัวเพียงเล็กน้อย สำหรับสินค้าอาหารส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรกของไทยปี 2555 ได้แก่ ข้าว (14.6%), น้ำตาลทราย (12.5%), กุ้ง (9.9%), ปลาทูน่ากระป๋องและแปรรูป (8.4%), และไก่และสัตว์ปีก (7.4%)

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527