สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ภาพรวมปี 2555 และแนวโน้มปี 2556

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        อุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2555 ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คาดไว้มากทำให้ภาคการผลิตและส่งออกมีโอกาสที่จะหดตัวลง จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยในช่วงก่อนหน้านี้ สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทย ณ สิ้นปี 2555 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวลงร้อยละ 2.6 ตามทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นส่งออกที่จะหดตัวลงร้อยละ 8.4 ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่ การส่งออกคาดว่าจะมีมูลค่า 955,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 1.0 ลดลงเล็กน้อย จากการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจาก การส่งออกอาหารไทย ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 น่าจะยังอ่อนแอแรงต่อเนื่อง จากไตรมาส ที่ 3 ตามภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศคู่ค้าหลักที่อ่อนตัวลง

 

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ภาพรวมปี 2555 และแนวโน้มปี 2556

พฤศจิกายน 2555

 

บทสรุป

          อุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2555 ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกรุนแรงกว่าที่คาดไว้มากทำให้ภาคการผลิตและส่งออกมีโอกาสที่จะหดตัวลง จากที่คาดว่าจะขยายตัวได้เล็กน้อยในช่วงก่อนหน้านี้ สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทย ณ สิ้นปี 2555 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวลงร้อยละ 2.6 ตามทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นส่งออกที่จะหดตัวลงร้อยละ 8.4 ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศยังขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะมีมูลค่า 955,000 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 1.0 ลดลงเล็กน้อยจากการประมาณการครั้งก่อน เนื่องจากการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2555 น่าจะยังอ่อนแอแรงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่อ่อนตัวลง

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยในปี 2556 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิตและส่งออก โดยการส่งออกมีโอกาสทำสถิติส่งออกทะลุ 1 ล้านล้านบาท โดยมีกรอบคาดการณ์อยู่ที่ 1,030,000-1,080,000 ล้านบาท (ค่ากลาง 1,050,000 ล้านบาท) ขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 8.0-13.0 (ค่ากลางร้อยละ 10.0) เนื่องจากภาพลบของเศรษฐกิจโลกน่าจะถูกซึมซับทั้งในฝังของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ และเกิดการปรับตัวรองรับสถานการณ์ไว้ในระดับหนึ่งแล้ว โดยอุตสาหกรรมอาหารไทยน่าจะเดินทางมาถึงจุดต่ำสุดแล้วในช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ 4 ของปีนี้ ซึ่งหลังจากนี้ภาคการส่งออกอาจมีสัญญาณการฟื้นตัวเกิดขึ้น แต่คาดว่าจะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เช่นกัน

1. ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3/2555

          ทิศทางการหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อย่างไรก็ตาม อัตราการหดตัวลดต่ำลงมากทั้งภาคการผลิตและการส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญ ๆ หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 มีสาระสำคัญ พอสรุปได้ดังนี้

                    ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศเริ่มเข้าสู่สถานการณ์หดตัวตามอุปสงค์ในประเทศที่เริ่ม ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ทั้งในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปที่ใช้บริโภคโดยตรง รวมทั้งสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มอื่น ๆ โดยอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศในไตรมาสนี้หดตัวลงร้อยละ 1.3 จากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 5.9 และ 7.7 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี ตามลำดับ กลุ่มอุตสาหกรรมที่หดตัวลงในไตรมาสนี้ ได้แก่ กลุ่มน้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์ประเภทอบ และผลิตภัณฑ์นม (สินค้าสำเร็จรูปที่ใช้บริโภคโดยตรง

 ส่วนอุตสาหกรรมในกลุ่มอื่น ๆ แม้ดัชนีผลผลิตจะยังเพิ่มขึ้น (%yoy) แต่อยู่ในทิศทางที่ชะลอตัวทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มอาหารสัตว์สำเร็จรูป เนื้อสัตว์ และเครื่องปรุงรส

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527