สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3/2555 และแนวโน้มปี 2555

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        ทิศทางการหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มิได้อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของสถาบันอาหาร ภาคการผลิตหดตัวลงร้อยละ 4.0 ขณะที่มูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ 0.8 ต่ำที่สุดในรอบปี ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ในเบื้องต้นว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยกำลังได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัว จากผลพวงวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซน

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3/2555 และแนวโน้มปี 2555

กันยายน 2555

บทสรุป

          ทิศทางการหดตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มิได้อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของสถาบันอาหาร ภาคการผลิตหดตัวลงร้อยละ 4.0 ขณะที่มูลค่าส่งออกหดตัวร้อยละ 0.8 ต่ำที่สุดในรอบปี ตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ในเบื้องต้นว่า อุตสาหกรรมอาหารไทยกำลังได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ในตลาดโลกชะลอตัว จากผลพวงวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซน

          เดิมทีมีเพียงอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลักได้แก่ แปรรูปสัตว์น้ำ (อาทิ กุ้งแปรรูป และปลาทูน่า) รวมทั้งผักผลไม้แปรรูป (อาทิ สับปะรดกระป๋อง) เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจุบันผลพวงดังกล่าวเริ่มลุกลามมายังอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรมอาหารที่มีตลาดหลักอยู่ภายในประเทศหดตัวลงร้อยละ 2.1 ในไตรมาสที่ 3 จากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 5.9 และ 7.7 ในสองไตรมาสแรกของปี ตามลำดับ

          อย่างไรก็ตาม ภาวะการณ์ดังกล่าว มิอาจทำให้สถาบันอาหารปรับเปลี่ยนมุมมองภาพของอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงที่เหลือของปีไปมากนัก เพราะยังเชื่อได้ว่าโค้งสุดท้ายของปี อุตสาหกรรมอาหารจะยังคงมีโอกาสกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ โดยคาดว่าในไตรมาสดังกล่าว ภาคการผลิตจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 และภาพรวมตลอดปี 2555 ภาคการผลิตหดตัวลงร้อยละ 1.3 มูลค่าส่งออกจะอยู่ที่ 980,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6

          การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลทำให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยหดตัวลงต่อเนื่อง อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบไม่เฉพาะอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นการส่งออก (Export-oriented Industry) แต่ผลพวงดังกล่าวเริ่มลุกลามมายังอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (Domestic Industry)

ภาคการผลิต

          ภาคการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 หดตัวลงอย่างต่อเนื่องจากครึ่งปีแรกโดยตัวเลขดัชนีผลผลิตที่ปรากฎออกมาในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสหดตัวลงที่ร้อยละ 4.3 และ 6.6 ในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ตามลำดับ สำหรับภาพรวมไตรมาสที่ 3/2555 คาดว่าดัชนีผลผลิตน่าจะหดตัวลงร้อยละ 4.0 ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับที่หดตัวลงเพียงร้อยละ 1.6 และ 0.7 ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ โดยอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นการส่งออกที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่องยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ฉุดภาพรวมการผลิตให้หดตัวลง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารที่มีตลาดหลักอยู่ภายในประเทศชะลอตัวลงอย่างมาก เริ่มมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม หลังจากที่เคยเป็นอุตสาหกรรมหลักในการประคับประคองอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวมมิให้หดตัวรุนแรงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

          เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารที่มีตลาดภายในประเทศมากขึ้นเดิมทีมีเพียงอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อเน้นส่งออกเป็นหลัก ได้แก่ แปรรูปสัตว์น้ำ (อาทิ กุ้งแปรรูป และทูน่าแปรรูป) รวมทั้งผักผลไม้แปรรูป (อาทิ สับปะรดกระป๋อง) เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก ซึ่งฉุดภาพรวมการผลิตให้อยู่ในแดนลบเป็นส่วนใหญ่มาตั้งแต่ต้นปี แต่ปัจจุบันผลพวงจากวิกฤติหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรโซนเริ่มลุกลามมากระทบอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการผลิตอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศต่างหดตัวรวมถึงมีการชะลอตัวลงอย่างถ้วนหน้า

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527