สวัสดี

Quarterly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 แนวโน้มปี 2554 และพยากรณ์ปี 2555

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ชะลอตัวลงจากภาวะน้ำท่วม รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป โดยภาคการผลิตหดตัวลงร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 229,747 ล้านบาท ขยายตัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 ในไตรมาสก่อน ภาวะน้ำท่วมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารเป็นวงกว้างแต่ผลกระทบหนัก จำกัดอยู่เพียงอุตสาหกรรมอาหารในบางสาขา อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่ยังคงสามารถผลิตสินค้าได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารโดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์น้ำท่วมเด่นชัดนัก แต่ก็ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากต้นทุนขนส่ง ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก สายการผลิตถูกตัดขาดเนื่องจากโรงงานวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์บางส่วนเสียหายจากอุทกภัยจึงไม่สามารถดำเนินการผลิตสินค้าได้เต็มศักยภาพ

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 4

แนวโน้มปี 2554 และพยากรณ์ ปี 2555

ธันวาคม 2554

1. ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ชะลอตัวลงจากภาวะน้ำท่วม รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะยุโรป โดยภาคการผลิตหดตัวลงร้อยละ 0.3 จากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อน ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 229,747 ล้านบาท ขยายตัสเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 ในไตรมาสก่อน ภาวะน้ำท่วมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอาหารเป็นวงกว้างแต่ผลกระทบหนัก จำกัดอยู่เพียงอุตสาหกรรมอาหารในบางสาขา อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่ยังคงสามารถผลิตสินค้าได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารโดยส่วนใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบทางตรงจากสถานการณ์น้ำท่วมเด่นชัดนัก แต่ก็ได้รับผลกระทบทางอ้อมจากต้นทุนขนส่ง ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการคมนาคมที่ไม่สะดวก สายการผลิตถูกตัดขาดเนื่องจากโรงงานวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์บางส่วนเสียหายจากอุทกภัยจึงไม่สามารถดำเนินการผลิตสินค้าได้เต็มศักยภาพ

          กลุ่มอุตสาหกรรมนม เป็นอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากภาวะน้ำท่วม โดยดัชนีผลผลิตหดตัวลงเกือบร้อยละ 50 เป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ส่งผลให้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี2554ผลิตภัณฑ์นมน่าจะมีผลผลิตลดลงร้อยละ 47.6 ของผลผลิตโดยรวมทั้งประเทศ เนื่องจากมีโรงงานขนาดใหญ่หลายแห่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ประสบภัยน้ำท่วม แม้ปัจจุบันจะสามรถกู้โรงงานจากน้ำท่วมได้แล้ว แต่กว่าจะกลับมาเดินสายการผลิตเข้าสู่ภาวะปกติได้ก็น่าจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยต้นปี 2555 ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสได้รับผลกระทบรองลงมา โดยดัชนีผลผลิตในไตรมาสที่ 4 น่าจะลดลงร้อยละ 7.1 ซึ่งผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่มาจากผลกระทบทางอ้อม อันเนื่องมาจากภาวะน้ำท่วมทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถประกอบอาหารรับประทานได้ ความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้จึงชะลอตัวลง ประกอบกับการขนส่งและช่องทางการจัดจำหน่ายถูกตัดขาด ผู้ผลิตจึงไม่สามารถกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้ โดยเฉพาะตลาดหลักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

2. ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทยปี 2554

          ปี 2554 นับเป็นปีหนึ่งในปีทองของอุตสาหกรรมอาหารไทย  เห็นได้จากภาคการผลิตและการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า 963,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 จากปี 2553 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดมากขึ้น

          เนื่องจากในช่วงต้นฤดูกาลผลิตสภาวะอากาศเอื้ออำนวยเพราะภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นไม่นานประกอบกับสินค้าเกษตรมีราคาดีต่อเนื่องจากปีก่อนเป็นแรงผลักดันให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งบำรุงรักษาผลผลิตให้มีคุณภาพ จึงมีพืชเศรษฐกิจ หลายรายการมีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และสับปะรด ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัตถุดิบดังกล่าวได้ต่อเนื่อง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527