สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3 แนวโน้มไตรมาสที่ 4 และภาพรวมปี 2554

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

       ภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเพราะปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่เกอดขึ้นในช่วงต้นปีเริ่มคลี่คลาย ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีทั้งปริมาณและราคา โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่การส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.8 และ 34.0 ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 732,059 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8

          แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่า 238,474 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าในตลาดต่างประเทศ เพื่อใช้บริโภคในช่วงปลายปี ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่า 970,533 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 สินค้าส่งออกหลัก ๆ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกกลุ่มสินค้า

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 3

แนวโน้มไตรมาสที่ 4 และภาพรวมปี 2554

กันยายน 2554

          ภาวะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเพราะปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบที่เกอดขึ้นในช่วงต้นปีเริ่มคลี่คลาย ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีทั้งปริมาณและราคา โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 และ 3 ที่การส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.8 และ 34.0 ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารในช่วง 3 ไตรมาสแรกปี 2554 มีมูลค่าสูงถึง 732,059 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8

          แนวโน้มการส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่า 238,474 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวดีตามความต้องการสินค้าในตลาดต่างประเทศ เพื่อใช้บริโภคในช่วงปลายปี ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยปี 2554 คาดว่าจะมีมูลค่า 970,533 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 สินค้าส่งออกหลัก ๆ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกกลุ่มสินค้า

1. การผลิต

          ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ขยายตัวดีกว่าไตรมาสที่ 1 และ 2 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1 และ 3.5 ตามลำดับ โดยมีปัจจัย สนับสนุนจากปริมาณวัตถุดิบส่งออกสู่ตลาดมากขึ้นเนื่องจาก ในปีนี้สภาวะอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก เพราะภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้นไม่นาน กลุ่มอุตสาหกรรมที่การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ การผลิตแป้งมันสำปะหลัง การแปรรูปผักผลไม้ รวมทั้งการผลิตน้ำมันปาล์ม ขยายตัวสูงในอัตราร้อยละ 89.2 , 28.3 และ 25.6 ตามลำดับ ขณะที่ความต้องการของตลาดยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมที่มีตลาดหลักอยู่ภายในประเทศและอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกอย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่ตลาดรับซื้อชะลอตัวเนื่องจากประเทศคู่ค้ารอดูทิศทางราคา กอปรกับเป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังประเมินความเหมาะสมในการออกมาตรการรับจำนำมันสำปะหลัง จึงส่งผลทำให้ภาวะการค้ามันสำปะหลังชะลอตัวเล็กน้อย

          ภาพรวมตลอด 3 ไตรมาสแรก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ยังดีต่อเนื่อง ขณะที่อุตสาหกรรมอาหารที่ประสบปัญหาด้านวัตถุดิบในช่วงต้นปีก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมอาหารที่สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากที่สุด โดยผลผลิตกุ้งขนาดเล็กออกสู่ตลาดมากขึ้นตามความต้องการของตลาดส่งออก ขณะที่การผลิตทูน่าก็ยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยราคาวัตถุดิบทูน่าที่ปรับตัวสูงขึ้นเกือบแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในเดือนกันยายน ที่ผ่านมา ยังไม่กระทบต่ออุตสาหกรรมเพราะธุรกิจสามารถปรับราคาจำหน่ายได้ตามภาวะต้นทุน (Cost plus) จึงทำให้อุตสาหกรรมทูน่า มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

2. การส่งออก

          การส่งออกอาหารไทยในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2554 (ตัวเลขเบื้องต้น) มีมูลค่า 253,970 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เร่งตัวต่อเนื่องจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ในไตรมาสแรก และร้อยละ 23.8 ในไตรมาส 2 สินค้าส่งออกแทบทุกกลุ่มขยายตัวได้อย่างโดดเด่นในไตรมาสนี้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527