สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสที่ 1 แนวโน้มไตรมาสที่2 และปี 2554

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

   ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่อง จากได้รับปัจจัยสนับสนุน จากการขยายตัว ของเศรษฐกิจโลก ทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้ง การเติบโตของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่ยังมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวไม่มากเพราะปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ประกอบกับแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทรวมทั้งต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาของสินค้าเกษตร และราคาพนักงาน ส่วนภัยพิบัติในญี่ปุ่น ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกา จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยได้รับอานิสงค์

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2544

แนวโน้มไตรมาสที่ 2 และภาพรวมปี 2554

มีนาคม 2554

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกทั้งภายในประเทศและเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งการเติบโตของหลาย ๆ อุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่ยังมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวไม่มากเพราะปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบจะรุนแรงขึ้นเนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ประกอบกับแนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทรวมทั้งต้นทุนการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรและราคาพนักงาน ส่วนภัยพิบัติในญี่ปุ่นความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกา จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยได้รับอานิสงค์

1. ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2544

               ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่สามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อสอดรับกับความต้องการสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยที่

               อุตสาหกรรมอาหารที่เน้นตลาดในประเทศ  (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิตน้อยกว่าร้อยละ 30) มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ขนมอบกรอบ อาหารสัตว์สำเร็จรูป เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการผลิตน้ำมันพืชและเครื่องปรุงที่ประสบภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ โดยอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขาดแคลนวัตถุดิบอย่างหนักเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพอากาศทำให้ผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย ส่วนการผลิตเครื่องปรุงรส (ผงชรส) ประสบภาวะขาดแคลนวัตถุดิบเช่นกัน เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักมีปริมาณลดลงรวมทั้งราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปัญหาโรคระบาดและการขาดแคลนท่อนพันธุ์ในช่วงที่ผ่านมา

               อุตสาหกรรมอาหารที่เน้นตลาดต่างประเทศ  (สัดส่วนส่งออกต่อผลผลิตมากกว่าร้อยละ 60) มีการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล การแปรรูปผักผลไม้ และการแปรรูปสัตว์น้ำ ยกเว้นการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ที่ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ โดยดัชนีผลผลิตน้ำตาลขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เนื่องจากมีอ้อยเข้าสู่โรงงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 เนื่องจากวัตถุดิบหลักอย่างสับปะรด มีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น สาเหตุจากราคาที่เกษตรกรขายได้ในปีก่อนอยู่ในระดับสูง จูงใจให้ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ว่างเชิงเขาและปลูกแซมในสวนยางพารา ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เนื่องจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นของการผลิตทูน่าและปลากระป๋อง อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งหดตวลดลงร้อยละ 2.0 เนื่องจากวัตถุดิบกุ้งออกสู่ตลาดน้อยเพราะสภาพอากาศแปรปรวนทำให้กุ้งโตช้า

2. ภาวะการส่งออกสินค้าอาหารของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2554

               การส่งออกอาหารไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีปริมาณ 8 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 3.1 มูลค่า 208,850 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าหลัก ๆ ได้แก่ ข้าว ไก่ ทูน่ากระป๋อง ผักผลไม้สดและแปรรูป ยังสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะปัจจัยแวดล้อมค่อนข้างเอื้ออำนวย โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวดีอยู่ในระดับร้อยละ 4-5 ค่าเงินบาทกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527