สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 7 เดือนแรก แนวโน้มไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2553

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

         แม้ภาคการผลิตและการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ประกอบกับในช่วงนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องเผชิญกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท ซึ่งแข็งค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี ดังนั้น คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ให้เกิดการชะลอตัวลง รวมทั้งส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดปี 2553 มีมูลค่าลดลงต่ำกว่า 830,000 ล้านบาท ที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 7 เดือนแรก

แนวโน้มไตรมาส 4 และภาพรวมปี 2553

16 กันยายน 2553

          แม้ภาคการผลิตและการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 จะขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือน แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารเริ่มมีสัญญาณชะลอตัว ประกอบกับในช่วงนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องเผชิญกับการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท ซึ่งแข็งค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 13 ปี ดังนั้น คาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ให้เกิดการชะลอตัวลง รวมทั้งส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกอาหารไทยตลอดปี 2553 มีมูลค่าลดลงต่ำกว่า 830,000 ล้านบาท ที่คาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า

     1.การผลิต

          ในเดือนกรกฎาคม 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 (yoy) ซึ่งเป็นผลผลิตในระดับใกล้เคียงกับปี 2550-2551 และแนวโน้มการผลิต

ปรับตัวไปในทิศทางเดียวกันกับปีดังกล่าวสำหรับภาพรวมในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 (yoy) อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ส่วนอุตสาหกรรมอาหาร ที่ผลผลิตลดลงมีสาเหตุจากปัญหาด้านวัตถุดิบเป็นสำคัญ

          ในเดือนกรกฎาคมมีอุตสาหกรรมอาหารที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลงเนื่องจากปัญหาด้านวัตถุดิบ อาทิ เช่น การผลิตกุ้งแช่แข็งลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมากุ้งมีราคาดีจึงจูงใจให้เกษตรกรลงกุ้งมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้กุ้งโตช้าและผลผลิตไม่ได้ขนาด ส่งผลทำให้โรงงานขาดแคลนกุ้งในการแปรรูป ผลผลิตทูน่ากระป๋องลดลงร้อยละ 4.3 เนื่องจากความต้องการทูน่ากระป๋องในตลาดต่างประเทศค่อนข้างตึงตัวจากปัญหาวัตถุดิบมีราคาสูง 

โดยในครึ่งปีหลังราคาวัตถุดิบทูน่าเฉลี่ยสูงถึง 1,700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน จากราคาเฉลี่ย 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ในช่วงต้นปีการผลิตปลาหมึกแช่แข็งลดลงร้อยละ 10.0 เนื่องจากปลาทั้งที่จับได้ในประเทศและนำเข้ามีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการแปรรูป การผลิตแป้งมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 44.6 เนื่องจากวัตถุดิบขาดแคลนจากปัญหาภัยแล้งและเพลี้ยแป้งระบาดในช่วงต้นปี

          สำหรับอุตสาหกรรมที่การผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น การผลิตเนื้อไก่แช่แข็งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะเนื้อไก่ยังคงเป็นโปรตีนที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับโปรตีนจากเนื้อหมูและเนื้อวัว ประกอบกับตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าที่คาด โดยเฉพาะตลาดหลักในยุโรปและญี่ปุ่น

ผลผลิตน้ำตาลทรายขาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.2 เนื่องจากโรงงานมีการแปรสภาพน้ำตาลทรายออกสู่ตลาดเพื่อรองรับความต้องการน้ำตาลทรายภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะความต้องการในอุตสาหกรรมอาหารอื่น ๆ  ที่ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น ผักผลไม้แปรรูป (+20.9%), น้ำมันพืช (+7.8%), อาหารสัตว์สำเร็จรูป (+11.0%), ขนมอบกรอบ (+18.4%), และการผลิตเบียร์ (+9.9%)

2. การนำเข้า

          การนำเข้าสินค้าอาหารในเดือนกรกฎาคม 2553 มีปริมาณ 1.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 มูลค่า 24,585 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อย 12.6 (yoy) สินค้าหลักซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวสาลี มอลต์ ผลิตภัณฑ์นม และปลาทะเลแช่แข็ง มีปริมาณนำเข้าเพิ่มขึ้น ส่วนสินค้าอาหารที่นำเข้ามาปริโภคโดยตรง เช่น ผักผลไม้สด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527