สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสแรกปี 2553 แนวโน้มไตรมาส 2 และภาพรวมปี 2553

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

       ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนมีนาคมขยายตัวสูงขึ้น ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ภาคส่งออกขยายตัวร้อยละ 29.8 ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสแรกปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 โดยภาคการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่ภาคส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารน่าจะขยายตัวได้มากกว่า ณ ตอนนี้ หากไม่ต้องเผชิญกับปัญหา ของการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งอันเนื่องมาจากภัยแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผักที่เริ่มเห็นสัญญาณการส่งออกลดลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในไตรมาสแรกปี 2553

แนวโน้มไตรมาส 2 และภาพรวมปี 2553

12 พฤษภาคม 2553

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารของไทยเดือนมีนาคมขยายตัวสูงขึ้น ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ภาคส่งออกขยายตัวร้อยละ 29.8 ภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสแรกปี 2553 ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 โดยภาคการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ขณะที่ภาคส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอาหารน่าจะขยายตัวได้มากกว่านี้หากไม่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากภัยแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผักที่เริ่มเห็นสัญญาณการส่งออกลดลงในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

          แนวโน้มการส่งออกอาหารของไทยในไตรมาส 2/2553 คาดว่าจะมีมูลค่า 201,944 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เนื่องจากได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก แต่อัตราขยายตัวจะชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกเพราะมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้พืชผลทางการเกษตรซึ่งเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอาหาร ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าไม่กระทบต่อภาพรวม การส่งออกอาหารของไทย ตลอดปี 2553 ที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10.0 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 830,000 ล้านบาท โดยมีเศรษฐกิจโลกเป็นตัวแปรสำคัญที่จะสนับสนุนการส่งออก

          ในเดือนมีนาคม 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 62.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 53.9 ในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2553 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 56.6 จากร้อยละ 51.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยภาคการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 เนื่องจากได้รับปัจจัยการสนับสนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2552

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมอาหารเสียโอกาสในการที่จะผลิตได้เพิ่มขึ้นเพราะเกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากภัยแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ที่ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง อุตสาหกรรมน้ำตาลปิดหีบเร็ววกว่าปีก่อน เพราะอ้อยมีราคาดีประกอบกับภัยแล้งทำให้เกษตรกรรีบเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ค่าความหวาน (ผลผลิตต่อต้นอ้อย) ลดลง การผลิตน้ำมันปาล์มมีปัญหา เช่นเดียวกันกับอ้อย เนื่องจากภัยแล้งทำให้น้ำมันปาล์มดิบที่กลั่นได้ต่อหน่วย (Yield) มีปริมาณลดลง ขณะที่การผลิตเบียร์ลดลงต่อเนื่องเพราะสภาพบ้านเมืองไม่ปกติ ประกอบกับการปรับขึ้นภาษีสรรสามิตเครื่องดื่มทำให้การบริโภคลดลง

          การส่งออกอาหารของไทยในเดือนมีนาคม 2553 มีมูลค่า 79,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2553 การส่งออกอาหารของไทยมีมูลค่า 205,062 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาสแรกสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า เช่น ข้าว กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ทูน่ากระป๋องและทูน่าแปรรูป ผักผลไม้ทั้งสดและแปรรูป น้ำตาลทราย น้ำมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ น้ำมันปาล์ม เครื่องปรุงรส และผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว เป็นต้น ยกเว้นการส่งออกปลาแช่แข็งลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าขณะที่การส่งออกไก่และสัตว์ปีก และอาหารสัตว์เลี้ยง มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าลดลงเล็กน้อย ส่วนการส่งออกปลาหมึกมีปริมาณ การส่งออกลดลงแต่มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527