สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย 2 เดือนแรก แนวโน้มไตรมาส 2 และปี 2553

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

  ภาวะอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรก ของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกรวมทั้งฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2552 โดยตัวชี้วัดในด้านอุปทานทั้งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตก็ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยใน ขณะที่ทางด้านอุปสงค์ นำโดยภาคการส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะตลาดโลกมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปีก่อน

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 2 เดือนแรก ปี 2553

แนวโน้มไตรมาส 2 และภาพรวม ปี 2553

8 เมษายน 2553

          ภาวะอุตสาหกรรมในช่วง 2 เดือนแรก ของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางเศรษฐกิจโลกรวมทั้งฐานตัวเลขเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2552 โดยตัวชี้วัดในด้านอุปทานทั้งดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิตปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ด้านอุปสงค์นำโดยภาคการส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะตลาดโลกมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปีก่อน

          การผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 หดตัวลงร้อยละ 0.1 จากที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ในเดือนก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 53.2 ลดลงจากร้อยละ 54.0 ในเดือนก่อนหน้า อุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ (-9.4%) , ผลิตภัณฑ์อาหารประเภทอบ (-9.0%), น้ำมันพืข (-8.1%), เบียร์ (-8.0%), และน้ำตาลทราย (-4.4%) ทั้งนี้ อุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ไม่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากภัยแล้ง ส่วนผลผลิตน้ำตาลทราบได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับราคาอ้อยที่อยู่ในเกณฑ์ดีทำให้ เกษตรกรเร่งตัดอ้อยเพื่อป้อนโรงงานน้ำตาลเร็วขึ้น ส่งผลทำให้ค่าความหวานของอ้อยลดลง ปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่ได้จึงลดลงตามไปด้วย ส่วนอุตสาหกรรมที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์ (+46.0%), เครื่องปรุงรส (+17.2%), ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม (+16.3%), การแปรรูปสัตว์น้ำ (+10.4%), เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ (+8.4%), อาหารสัตว์สำเร็จรูป (+6.8%), และเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ (+4.0%)

          การนำเข้าอาหารของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 มีปริมาณ 0.76 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 5.7 มูลค่าการนำเข้า 19,113 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และตลอด 2 เดือนแรกของปี 2553 การนำเข้าอาหารของไทยมีปริมาณ 1.57 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 มูลค่าการนำเข้า 38,237 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 โดยกลุ่มสินค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ กลุ่มสินค้าแปรรูปขั้นต้น กลุ่มอาหารสำเร็จรูป กลุ่มสินค้าเครื่องดื่ม และกลุ่มอาหารสัตว์ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า และมีเพียงกลุ่มสินค้าเกา๖รวัตถุดิบที่มีการนำเข้าลดลง โดยในช่วง  2 เดือนแรก ของปี 2553 การนำเข้าอาหารของไทยรายกลุ่ มีดังต่อไปนี้

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527