สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกรกฎาคม และแนวโน้มครึ่งหลังของปี 2552

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกรกฎาคม 2552 หดตัวลงทุกด้านตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยด้านการผลิตดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 5.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 3.3 ส่วนด้านการค้าหดตัวลงทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้าในอัตราร้อยละ -17.5 และ -8.6 ตามลำดับ โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรวัตถุดิบและกลุ่มอาหารแปรรูปขั้นต้นหดตัวลงมากเนื่องจากเปรียบเทียบกับฐานส่งออกที่สูงมากในเดือนกรกฎาคมปีก่อน ส่วนในด้านราคาส่งออกนั้นพบว่าเฉลี่ยแล้วราคาสินค้าเกษตรอาหารหดตัวลงร้อยละ 21.5 สูงกว่าสินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่ลดลงร้อยละ 5.1 

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือน กรกฎาคม

และแรวโน้มครึ่งหลังของปี 2552

จีระศักดิ์ คำสุรีย์

24 กันยายน 2552

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

          ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนกรกฎาคม 2552 หดตัวลงทุกด้านตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยด้านการผลิตดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 5.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 3.3 ส่วนด้านการค้าหดตัวลงทั้งมูลค่าการส่งออกและนำเข้าในอัตราร้อยละ -17.5 และ -8.6 ตามลำดับ โดยการส่งออกสินค้ากลุ่มเกษตรวัตถุดิบและกลุ่มอาหารแปรรูปขั้นต้นหดตัวลงมากเนื่องจากเปรียบเทียบกับฐานส่งออกที่สูงมากในเดือนกรกฎาคมปีก่อน ส่วนในด้านราคาส่งออกนั้นพบว่าเฉลี่ยแล้วราคาสินค้าเกษตรอาหารหดตัวลงร้อยละ 21.5 สูงกว่าสินค้าอุตสาหกรรมอาหารที่ลดลงร้อยละ 5.1

          

          อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมการส่งออกในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาหดตัวลงมาก แต่การส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์กลับขยายตัวโดดเด่นมากในอัตราร้อยละ 13.7 ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้ากำลังเริ่มฟื้นตัว จึงมีความต้องการวัตถุดิบจากไทยเพิ่มสูงขึ้น สอดคล้องกับการนำเข้าสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.3 แสดงว่าผู้ประกอบการในประเทศเริ่มมีการวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิตด้วยการสะสมวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น และเชื่อว่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป

          ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2552 เครื่องชี้ภาวะอุตสาหกรรอมาหารส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในแดนลบ โดยดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 4.8 อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงร้อยละ 4.3 ขณะที่มูลค่าการส่งออกหดตัวลงร้อยละ 8.5 ตมการหดตัวของกลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบ อาหารแปรรูปขั้นต้น และอาหารสัตว์ ส่วนกลุ่มอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 และ 5.5 ตามลำดับ การนำเข้าหดตัวลงร้อยละ 12.3 โดยกลุ่มสินค้าเกษตรวัตถุดิบและอาหารสัตวมีการนำเข้าติดลบน้อยลงเรื่อย ๆ และอาจขยายตัวเป็นบวกภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนการนำเข้าสินค้าอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มที่หดตัวสูงอย่างต่อเนื่องแสดงว่าผู้บริโภคภายในประเทศยังไม่เชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน

          แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีอกาสปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก (แม้สถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะยังคงหดตัวลงเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 3 เนื่องจากเปรียบเทียบฐานตัวเลขที่สูงมากในปีก่อน) โดยอุตสาหกรรมอาหารจะได้รับประโยชน์จากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงท่ามกลางราคาขายที่ลดลงไม่มาก อีกทั้งความกังวลของผู้นำเข้าในต่างประเทศต่อภาวะเศรษฐกิจคลายตัวลงมากน่าจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยฟื้นตัวได้อีกครั้งในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และภาพรวมตลอดปี 2552 คาดว่าการส่งออกจะติดลบ น้อยลงโดยมีมูลค่า 722,000 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 7.2 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยเฉพาะความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่เริ่มขยับตัวสูงขึ้น ผู้นำเข้าจึงมีความระมัดระวังเป็นพิเศษเห็นได้จากคำสั่งซื้อสินค้าที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นคำสั่งซื้อระยะสั้น ประกอบกับแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทของไทย ซึ่งต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิดเพราะอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารไทยในระยะต่อไป

1. การผลิต

          ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารเดือนกรกฎาคม 2552 หดตัวลงร้อยละ 5.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 51.5 ลดลงร้อยละ 3.3 จากเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศยังอยู่ในช่วงซบเซา ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในการบริโภคหดตัวตามไปด้วย โดยอุตสาหกรรมหลักที่การผลิตหดตัวลงมากและส่งผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ได้แก่ การแปรรูปผักผลไม้ที่หดตัวลงร้อยละ 25.8 เนื่องจากกำกำลังซื้อของตลาดหลักในบุโรปและรัสเซียปรับตัวลงตามภาวะการอ่อนตัวของเศรษฐกิจและค่าเงิน รวมทั้งเกิดการขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพในการแปรรูป ส่วนอุตสาหกรรมเบียร์หดตัวลงร้อยละ 22.3 ลดลงต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ภายหลังจากเผชิญมรสุมเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ส่วนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ดัชนีผลผลิตหดตัวลงในเดือนนี้ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมอบ เครื่องปรุงรส การผลิตน้ำมันพืช และอาหารสัตว์สำเร็จรูป

          ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552  ดัชนีผลิตอุตสาหกรรมอาหารหดตัวลงร้อยละ 4.8 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยร้อยละ 51.4 ลดลงร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าทั้งภายในและต่างประเทศและตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับมีการขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรม ทำให้ตัวแปรในภาคการผลิตปรับตัวลดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ อุตสาหกรรมอาหารส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี จะมีเพียงบางอุตสาหกรรมเท่านั้นที่การผลิตยังคงหดตัวลงเพราะประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมทั้งการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างเชื่องช้า ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมยังหดตัวต่อไป

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527