สวัสดี

Quarterly Situation

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2552

ตุลาคม 2558

รายละเอียด :

        อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวลงทุกด้านตามทิศทางการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก หลายภาคส่วนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปขั้นต้นรวมทั้งผู้ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมประสบปัญหาการส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากความต้องการสินค้าจากตลาดโลกลดลง มีภาวะการแข่งขันสูงระหว่างประเทศกำลังพัฒนา

ภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2552

แนวโน้มไตรมาส 2 และปี 2552

จิรศักดิ์ คำสุรีย์

10 มิถุนายน 2552

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

          อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาส 1 ปี 2552 หดตัวลงทุกด้านตามทิศทางการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก หลายภาคส่วนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปขั้นต้นรวมทั้งผู้ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมประสบปัญหาการส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากความต้องการสินค้าจากตลาดโลกลดลง มีภาวะการแข่งขันสูงระหว่างประเทศกำลังพัฒนา

          อย่างไรก็ตาม  ในช่วงเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน เครื่องชี้ภาวะอุตสาหกรรมอาหารส่วนหนึ่งเริ่มส่งสัญญาณในทางที่ดี โดยเฉพาะดัชนีผลผลิตที่ปรับตัวดีขึ้นจนมีอัตราขยายตัวเป็นบวก รวมทั้งการส่งออกและการนำเข้าในช่วง 4 เดือนแรกหดตัวลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ สะท้อนว่าอุตสาหกรรมอาหารที่ทรุดตัวลงกำลังปรับตัวดีขึ้น

          อุตสาหกรรมอาหารไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 และอย่างช้าน่าจะเริ่มเห็นการขยายตัวเป็นบวกในช่วงไตรมาส 4/2552 เนื่องจากอาหารเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับการดำรงชีพผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยเริ่มคลายตัวลง ซึ่งสะท้อนมาจากการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งดัชนีเศรษฐกิจของหลาย ๆ ประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ

          ทั้งนี้ การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมอาหารคงเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะหากราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาจกลับมาเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจและการค้าโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ เงินบาทที่มีแนวโน้มแข็ค่าขึ้น จะส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วงครึ่งปีหลัง  เนื่องจากปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารของไทยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 พึ่งพิงวัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก นั่นหมายความว่าจะมีอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาทเพียงไม่ถึง 20 % เท่านั้น ดังนั้น อุตสาหกรรมอาหารของไทยจึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ โดยเฉพาะหากสินค้าส่งออกของไทยต้องแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ค่าเงินอ่อนค่าหรือแข็งค่าลงในอัตราที่น้อยกว่าเงินบาทของไทย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เมื่อผนวกกับฐานการส่งออกที่สูงในปีก่อน ทำให้ยังเชื่อว่าภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในปีนี้มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551

1. การผลิต

                ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมอาหารไตรมาส 1/2552

                ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเฉลี่ยไตรมาสแรก ปี 2552 หดตัวลงร้อยละ 5.9 ลดลง มากกว่าในไตรมาสก่อนที่หดตัวลงร้อยละ 2.7 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 51.5 ลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่หากพิจารณารายเดือนพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อนเอง โดยดัชนีผลผลิตหดตัวลงร้อยละ 1.9 ในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะขยายตัวในแดนบวกที่ร้อยละ 0.3 ในเดือนมีนาคม หลังจากที่หดตัวลงมากถึงร้อยละ 16.6 เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

                ในไตรมาสแรกของปี 2552 มีกลุ่มอุตสาหกรรมที่การผลิตหดตัวลงและส่งผลทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารโดยรวมปรับตัวลดลงจำนวน 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตสตาร์ชและผลิตภัณฑ์ (-22.2%), การแปรรูปผักและผลไม้ (-20.4%), การผลิตบียร์ (-12.1%), การผลิตน้ำมันพืช (-9.3%), ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนม (-4.6%), การผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป (-3.1%), การแปรรูปสัตว์น้ำ (-2.3%), เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลล์ (-0.4%), และการผลิตน้ำตาล (-0.3%) ซึ่งการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่หดตัวลงเป็นไปตามความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม หากพิจารณารายเดือนพบว่า มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารหลายอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เช่น การแปรรูปสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอลฮอลล์ ขณะที่การผลิตเบียร์ที่เพิ่มขึ้นมากในเดือนมีนาคมเพื่อสะสมสต็อกไว้ ภายหลังจากในช่วงก่อนหน้ามีข่าวว่ารัฐบาลจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพามิตสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เพื่อชดเชยรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

                ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่ดัชนีผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสแรกมีเพียง 3 กลุ่ม อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตภัณฑ์ขนมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 การผลิตเครื่องปรุงรสเพิ่มขึ้นร้อยละ3.2และการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ0.4เป็นผลมาจากภาวะเสณษฐกิจที่ซบเซาทำให้ผู้คนหันมาปรุงอาหารรับประทานที่บ้านมากขึ้นอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสจึงได้รับอานิสงค์จากปัจจัยดังกล่าวส่วนการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบลดต่ำลงประกอบกับมีคำสั่งซื้อไก่แปรรูปจากญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นมากเพื่อทดแทนไก่แปรรูปจากจีนที่มีปัญหาด้านคุณภาพสินค้า

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527