สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2566

ธันวาคม 2566

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2566 หดตัวลงร้อยละ 2.0 โดยมีปัจจัยลบจากการขาดแคลนวัตถุดิบในหลายอุตสาหกรรมจากภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง อุตสาหกรรมอาหารรายสาขาที่ได้รับผลกระทบชัดเจนจากการลดลงของวัตถุดิบ คือ การผลิตแป้งมันสำปะหลังและสับปะรดกระป๋อง ขณะที่สาขาอุตสาหกรรมในภาพรวมยังคงได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อทั่วโลกที่อ่อนตัวตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น สาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภาวการณ์ดังกล่าวชัดเจน เช่น กลุ่มอาหารทะเลแช่แข็ง อาหารสุนัขและแมว เป็นต้น

ภาพรวมในช่วง 9 เดือนแรกปี 2566 การผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยหดตัวลงร้อยละ 3.1 อุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกอย่างกลุ่มอาหารทะเลแปรรูป โดยเฉพาะปลาทูน่ากระป๋องและอาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวลงร้อยละ 17.7 และ 12.7 ตามลำดับ หลังจากมีแรงกดดันจากปัญหาสต็อกคงค้างมาตั้งแต่ปีก่อน รวมทั้งปัญหาราคาปลาทูน่ายังคงสูง ทำให้ผู้นำเข้าชะลอการสั่งซื้อ ประกอบกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ รวมถึงวัตถุดิบมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากจากภัยแล้งและราคาพลังงาน นับเป็นแรงกดดันหลักทำให้ภาคการแปรรูปหดตัวลง โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบชัดเจนคือแป้งมันสำปะหลังและสับปะรดกระป๋อง

 

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527