สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3 ปี 2563

สิงหาคม 2563

รายละเอียด :

  1. การผลิต

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวลงร้อยละ 5.8 แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวลงร้อยละ 11.0 ในไตรมาสแรก โดยการผลิตยังคงถูกกดดันจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ภาครัฐสั่งปิดประเทศและประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ รวมถึงออกมาตรการเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) เพื่อสกัดกั้นการระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะคำสั่งปิดสถานประกอบการต่างๆ ที่มีความเสี่ยงทั่วประเทศ ขณะที่ต่างประเทศก็ดำเนินมาตรการในลักษณะเดียวกัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคธุรกิจ ไม่เว้นแม้กระทั่งอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการมีกำลังการผลิตลดลงโดยปริยาย ประกอบกับแรงงานต่างชาติในภาคการผลิตกังวล COVID-19 จึงเดินทางกลับบ้าน ส่งผลทำให้หลายสถานประกอบการประสบภาวะขาดแคลนแรงงาน 

กลุ่มสินค้าอาหารที่การผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นและสอดรับกับสถานการณ์ที่ผู้คนกักตัวอยู่ที่บ้าน อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง (+30.5%), ปลาซาร์ดีนกระป๋อง (+12.6%), บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (+12.3%), กะทิสำเร็จรูป (+11.8%), น้ำปลา (+6.9%) ส่วนกลุ่มสินค้าอาหารที่การผลิตหดตัวลง ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ ได้แก่ น้ำตาล (-36.9%) และสับปะรดกระป๋อง (-9.0%) รวมถึงปัจจัยสำคัญที่มาจาก COVID-19

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527