สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนตุลาคม และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนพฤศจิกายน 2566

ธันวาคม 2566

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนตุลาคม 2566 หดตัวร้อยละ 5.4 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 49.55 หดตัวจากร้อยละ 52.37 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุสำคัญจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของคู่ค้าหลักหลายประเทศที่ยังคงเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องกระทบกำลังการซื้อของผู้บริโภค เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงจากภาคการท่องเที่ยวที่ต่ำกว่าคาดการณ์ การลดลงของปริมาณวัตถุดิบสินค้าเกษตรจากปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้ง โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง (-89.1%) กะทิ (-32.1%) ทูน่ากระป๋อง (-25.9%) แป้งมันสำปะหลัง (-15.9%) ซาร์ดีนกระป๋อง (-9.5%) กุ้งแช่แข็ง (-23.7%) และ เนื้อไก่สุกปรุงรส (-2.2%) ขณะที่การผลิตน้ำตาลทรายขาวยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น (+36.3%) จากผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก

ในเดือนตุลาคม 2566 ความกดดันของผู้บริโภคคลายตัวลง ตามราคาสินค้าอาหารโลกลดลงที่หดตัวร้อยละ 0.65 (%yoy) เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง ความมั่นคงทางอาหารจากภาวะสงครามที่เกิดขึ้น และนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นต่างกว่าที่คาดโดยเฉพาะชาวจีน ได้ส่งผลทำให้ภาวะการบริโภคในกลุ่มสินค้าอาหารไม่ขยายตัวตามที่คาดการณ์ สำหรับกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคาลดลงและส่งผลดีต่อการบริโภคเป็นเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ (-7.26) อย่างไรก็ตาม กลุ่มสินค้าอาหารสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นกดดันการบริโภค คือ ข้าว น้ำตาล ผลไม้สดและผลไม้แปรรูป มีราคาปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 5.3 ร้อยละ 1.8 และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลทำให้ราคาสินค้าข้าวและน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารของประเทศคู่ค้าหลังจากราคาตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น มีความต้องการผลไม้สดในการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้ราคาผลไม้ภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม

 

การส่งออกสินค้าอาหารไทยเดือนตุลาคม 2566 มีมูลค่า 128,027 บาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 (%YoY) ตามความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียใต้ ในส่วนของประเทศไทย แม้ผลผลิตวัตถุดิบการเกษตรของไทยหลายรายการจะลดลง แต่สินค้าส่งออกไทยได้รับประโยชน์จากความต้องการและราคาตลาดที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว  โดยมีกลุ่มสินค้าจำเป็น ได้แก่ ข้าว และแป้งมันสำปะหลัง  และกลุ่มสินค้าพร้อมรับประทาน ขณะที่เครื่องปรุงรส และอาหารพร้อมรับประทานขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของผู้นำเข้าที่ต้องการจะสต็อกสินค้าอาหารปลายปี

 

การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และปริมาณวัตถุดิบการเกษตรฤดูการผลิตใหม่ที่เข้าสู่ตลาด รวมถึงต้นทุนวัตถุดิบในกลุ่มอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสัตว์เลี้ยงที่อ่อนตัวลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง จะส่งผลทำให้ปริมาณคำสั่งซื้อของลูกค้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเงินเฟ้อ ประกอบกับปรากฎการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดภัยแล้ง ต้นทุนการผลิตสูงทำให้ผลผลิตทางการเกษตรหลายรายการมีปริมาณลดลง

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527