สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนธันวาคม 2565 และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนมกราคม 2566

มกราคม 2566

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนธันวาคม 2565 หดตัวร้อยละ 4.4 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 55.1 หดตัวจากอัตราร้อยละ 58.0 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน  การหดตัวของภาคการผลิตมีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของวัตถุดิบทางการเกษตร โดยเฉพาะมันสำปะหลังที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตมันสำปะหลังบางส่วนได้รับความเสียหาย ประกอบกับความต้องการบริโภคในตลาดที่ลดลงจากการปรับขึ้นของราคาจำหน่ายที่สูงตามเงินเฟ้อ และภาวะต้นทุนการผลิต
ที่เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ กะทิ (-29.5%) น้ำมันพืช (ยกเว้นน้ำมันปาล์ม) (-28.8%) แป้งมันสำปะหลัง (-27.1%) กุ้งแช่แข็ง (-18.3%) สับปะรดกระป๋อง (-13.9%) เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการขยายตัวได้แก่ น้ำตาลทรายขาว (+31.6%) ที่เพิ่มจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

ราคาอาหารเดือนธันวาคม 2565 ขยายตัวร้อยละ 8.9 ตามการสูงขึ้นของราคาในทุกกลุ่มสินค้า จากต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้นตามราคาพลังงาน และความต้องการในตลาดที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาล โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2  กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 กลุ่มผักสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 กลุ่มผลไม้สดเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527