สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤศจิกายน และแนวโน้มการส่งออกและสัญญาณเตือนภัย เดือนธันวาคม 2565

ธันวาคม 2565

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนพฤศจิกายน 2565 หดตัวร้อยละ 1.4 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 51.0 หดตัวจากอัตราร้อยละ 51.9 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน การหดตัวของภาคการผลิต มีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของวัตถุดิบทางการเกษตร จากสภาพอากาศแปรปรวน และน้ำท่วมในบางพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตการเกษตร และผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย ประกอบกับความต้องการบริโภคในตลาดที่ลดลงจากการปรับขึ้นของราคาจำหน่าย ที่เพิ่มตามเงินเฟ้อและภาวะต้นทุนการผลิต โดยกลุ่มสินค้าหลักที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่ ผักผลไม้แช่แข็ง (-48.5%) น้ำผลไม้ (-15.7%) กะทิ (13.6%) ซาร์ดีนกระป๋อง (-13.3%) ผลิตภัณฑ์นม (-9.3%) แป้งมันสำปะหลัง (-7.2%) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง (-5.8%) เนื้อไก่สุก
(-3.9%) และทูน่ากระป๋อง (-3.6%) เป็นต้น ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่มีการขยายตัวได้แก่ น้ำตาลทรายขาว (77.3%) เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง (+5.2%) และสับปะรดกระป๋อง (+1.7%)

ราคาอาหารเดือนพฤศจิกายน 2565 ขยายตัวร้อยละ 8.4 ตามการสูงขึ้นของราคาเกือบทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้น ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ ผักและผลไม้สด เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นหลังจากสถานการณ์น้ำท่วมได้คลี่คลายลง รวมทั้งการลดลงของราคาเนื้อสุกรและไข่ไก่ และราคาน้ำมันพืช โดยกลุ่มสินค้าอาหารที่มีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการสูงขึ้นของราคาข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และขนมอบ กลุ่มเนื้อสัตว์และสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม เพิ่มร้อยละ 10.8 กลุ่มผลไม้สด ร้อยละ 6.2 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร ร้อยละ 7.23 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 5.0

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527