สวัสดี

Monthly Situation

สรุปภาวะอุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนตุลาคม 2563

พฤศจิกายน 2563

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยเดือนตุลาคม 2563 หดตัวร้อยละ 1.0  มีอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 51.0 เพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 49.9 ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามการชะลอตัวของความต้องการบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยกลุ่มสินค้าที่มีการปรับตัวลดลงอย่างมาก ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแช่เย็นแช่แข็งที่ลดลงร้อยละ 14.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน จากหารลดปริมาณการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร และการนำปลาทูน่าแช่แข็งไปแปรรูปเป็น ทูน่ากระป๋องแทน รองลงมาได้แก่ เนื้อไก่ปรุงสุก (-9.2%), น้ำตาล (-2.7%) และแป้งมันสัมปะหลัง (-0.9%) ส่วนสินค้าที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นในระดับสูงได้แก่ กลุ่มสินค้าจากผักและผลไม้ ขยายตัวร้อยละ 20.0 จากกลุ่มผลไม้และผักบรรจุกระป๋องเป็นหลัก จากความต้องการกักตุนอาหารที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

การบริโภคในประเทศขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบจากเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าตามภาพรวมการบริโภคจะดีขึ้นจากสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศที่ผ่อนคลายลง แต่ยังคงขยายตัวอยู่ในระดับต่ำจากความต้องการบริโภคในประเทศที่ยังคงชะลอตัว เนื่องมาจากภาวะทางเศรษฐกิจ และแรงฉุดจากจากการลดลงของนักท่องเที่ยวโดยสินค้าที่มีระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นได้แก่เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 3.5 ผักสด สูงขึ้นร้อยละ 13.5 เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 2.5 และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.7 ขณะที่ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขึ้นร้อยละ 0.9 กลุ่มข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 1.8 และกลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 1.2

การส่งออกอาหารไทยเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 77,254 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยน้ำตาลยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องจากภาวะภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายลดลง ข้าวลดลงจากการชะลอคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างสหรัฐฯ จีน แอฟริการใต้ และแองโกลา จากสต๊อกข้าวในประเทศที่เพียงพอต่อการบริโภค แป้งมันสำปะหลังลดลงจากเป็นช่วงต้นฤดูกาลผลิต ทำให้ยังคงมีปริมาณการผลิตออกสู่ตลาดน้อย ทูน่ากระป๋องลดลง เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ามีการกักตุนสินค้าในช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ การส่งออกอาหารซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบโลจิสติกส์ทางเรือ ยังได้รับผลกระทบจากการขาดแคลยตู้ขนสินค้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้ค่าระวางเพิ่ม รวมถึงมีการปรับขึ้นของค่าใช้จ่ายที่เก็บบริเวณท่าเรือเฉลี่ยอีกร้อยละ 10 ส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น  

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527