สวัสดี

Monthly Situation

รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมอาหารไทย เดือนพฤษภาคม 2559

พฤษภาคม 2559

รายละเอียด :

  1. สถานะการณ์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของโลก
  1. พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและผลผลิตมันสำปะหลังในต่างประเทศ

          พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจากทั่วโลกมีพื้นที่โดยรวมประมาณ 117 ล้านไร่ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปแอฟริกา คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 75 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย คองโก กานา แองโกลา และโมซัมบิค รองลงมาคือ ทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 25 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญคือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และจีน และทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่ประมาณ 17 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญคือ ประทศบราซิล ปารากวัย โคลัมเบีย เปรู และเฮติ

          ผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณ 202.65 ล้านตัน หรือผลผลิตเฉลี่ย 1,752 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งทวีปแอฟริกามีพื้นที่ปลูกมากที่สุด รองลงมาคือ ทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีปริมาณการผลิตมากที่สุดของโลกคือ มันเส้น มันสำปะหลังอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง ดังแผนภาพที่ 1

          ในปี 2558 ประเทศที่มีปริมาณการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ         ประเทศไนจีเรีย จำนวน 54 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 5,641 ล้านเหรียญ รองลงมาคือประเทศไทยมีปริมาณการผลิตคิดเป็น 29.84 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,212 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย จำนวน 24.17 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,448 ล้านเหรียญ ทั้งนี้ เมื่อมองในส่วนของปริมาณการผลิตจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปริมาณการผลิตที่สูงกว่าประเทศอินโดนีเซีย หรือคิดเป็นสัดส่วนของการผลิตเท่ากับร้อยละ 14.86 ส่วนอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 12.04 3) แต่อินโดนีเซียจะมีมูลค่าการผลิตที่สูงกว่าประเทศไทย

  1. สถานะการณ์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของโลก
  1. พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและผลผลิตมันสำปะหลังในต่างประเทศ

          พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังจากทั่วโลกมีพื้นที่โดยรวมประมาณ 117 ล้านไร่ ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในทวีปแอฟริกา คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 75 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย คองโก กานา แองโกลา และโมซัมบิค รองลงมาคือ ทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 25 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญคือ ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และจีน และทวีปอเมริกาใต้ มีพื้นที่ประมาณ 17 ล้านไร่ ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญคือ ประทศบราซิล ปารากวัย โคลัมเบีย เปรู และเฮติ

          ผลผลิตมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณ 202.65 ล้านตัน หรือผลผลิตเฉลี่ย 1,752 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งทวีปแอฟริกามีพื้นที่ปลูกมากที่สุด รองลงมาคือ ทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีปริมาณการผลิตมากที่สุดของโลกคือ มันเส้น มันสำปะหลังอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง ดังแผนภาพที่ 1

          ในปี 2558 ประเทศที่มีปริมาณการผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของโลกคือ         ประเทศไนจีเรีย จำนวน 54 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 5,641 ล้านเหรียญ รองลงมาคือประเทศไทยมีปริมาณการผลิตคิดเป็น 29.84 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,212 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย จำนวน 24.17 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 2,448 ล้านเหรียญ ทั้งนี้ เมื่อมองในส่วนของปริมาณการผลิตจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีปริมาณการผลิตที่สูงกว่าประเทศอินโดนีเซีย หรือคิดเป็นสัดส่วนของการผลิตเท่ากับร้อยละ 14.86 ส่วนอินโดนีเซีย คิดเป็นร้อยละ 12.04 3) แต่อินโดนีเซียจะมีมูลค่าการผลิตที่สูงกว่าประเทศไทย

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตมันสำปะหลังทั่วโลก

Rank

Area

Production (MT)

Percentage

1

Nigeria

54,000,000

26.89 %

2

Thailand

29,848,000

14.86 %

3

Indonesia

24,177,372

12.04 %

4

Brazil

23,044,557

11.48 %

5

Democratic Republic of the Congo

16,000,000

7.97 %

6

Ghana

14,547,279

7.24 %

7

Angola

10,636,400

5.30 %

8

Mozambique

10,051,364

5.01 %

9

Viet Nam

9,745,545

4.85 %

10

India

8,746,500

4.36 %

 

ที่มา: Top 10 Cassava Producing Countries. February 2016. Map of World

  1. ความต้องการใช้

          ประเทศผู้ผลิตที่สำคัญทั้งในทวีปแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา ส่วนใหญ่มีความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก โดยอยู่ในรูปหัวมันสดและในรูปผลิตภัณฑ์ยกเว้นประเทศไทยและเวียดนาม ที่มีการใช้ในประเทศประมาณร้อยละ 25 ของผลผลิตที่ผลิตได้ ที่เหลือจะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก

          ปี 2558 ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นในส่วนที่ใช้เพื่อผลิตเป็นอาหาร พลังงาน และอาหารสัตว์ สำหรับทวีปเอเชีย อุตสาหกรรมเอทานอลเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังขยายตัวขึ้น โดยในหลายมณฑลของจีนได้ออกกฎหมายบังคับให้ผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซิน ทำให้มีความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอลประมาณ 500 ล้านลิตร และยังคงต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

          สำหรับเวียดนามตั้งแต่ปลายปี 2557 รัฐบาลบังคับให้ผสมเอทานอลร้อยละ 5 ในน้ำมันเบนซิน และในปี 2558 รัฐบาลได้เก็บภาษีส่งออกมันสำปะหลังร้อยละ 5 เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศมีเพียงพอสำหรับการผลิตเอทานอล

          ในประเทศไทยมีการใช้เอทานอลผสมในน้ำมันเบนซินร้อยละ 20 และร้อยละ 85 และปริมาณรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน E85 มีมากขึ้น ซึ่งเอทานอลของไทยผลิตจากกากน้ำตาลและมันสำปะหลังเป็นหลัก และคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เอทานอลประมาณ 3 ล้านลิตรต่อวัน โดยจากข้อมูลสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรระบุว่าใน ปี 2559 ประเทศไทยมีความต้องการใช้มันสำปะหลังภายในประเทศร้อยละ 16 โดยจะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์มันเส้น/มันอัดเม็ดร้อยละ 3 และแป้งมัน/แป้งดัดแปรร้อยละ 13 นอกนั้นจะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก

          สำหรับความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อแปรรูปอาหาร ส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศบราซิล ได้มีมาตรการให้ผสมแป้งมันสำปะหลังในแป้งสาลี สำหรับทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการบริโภคมันสำปะหลังอย่างแพร่หลาย ในแง่ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์มีมากในละตินอเมริกาและแคริเบียนโดยเฉพาะในบราซิล ส่วนในกลุ่มเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันสำปะหลังยังคงเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ โดยเฉพาะจีนที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในประเทศไทยมีความต้องการใช้ลดลงเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับพืชทดแทนได้

  1. การค้า

          ปี 2553-2557 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังของโลก (มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.80 ต่อปี[1] เนื่องจากตลาดโลกมีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการจากจีนเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลากหลาย

          ปี 2557 โลกมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 3,688.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปี 2556 ที่มีมูลค่าการส่งออก 3,820.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พบว่า มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 3.45 ทั้งนี้ประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ คือ ไทย มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 76 รองลงมา คือ เวียดนาม และกัมพูชา มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 16 และร้อยละ 3 ตามลำดับ

  1. สถานะการณ์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศไทย


พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและผลผลิตมันสำปะหลังในต่างประเทศ

          ปี 2554-2558 เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 8.17 และร้อยละ 3.34 ต่อปี ตามลำดับ เนื่องจากราคามันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดี ภาครัฐได้ดำเนินโครงการและมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก และการระบาดของเพลี้ยแป้งลดลงมาก รวมถึงเกษตรกรมีการดูแลรักษาดีขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มสูงขึ้น

          ปี 2558 พบว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 ร้อยละ 7.79 และร้อยละ 1.40 ตามลำดับ เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้เกษตรกรปลูกทดแทนพื้นที่พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงานที่รื้อตอทิ้ง และพื้นที่ว่างเปล่า

ตารางที่ 2 เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ของไทย ปี 2554-2559

รายการ

2554

2555

2556

2557

2558

อัตราเพิ่ม

(ร้อยละ)

2559*

เนื้อที่เก็บเกี่ยว

(ล้านไร่)

7.096

8.513

8.657

8.431

8.961

4.68

8.713

ผลผลิต

(ล้านตัน)

21.912

29.848

30.228

30.022

32.358

8.17

31.040

ผลผลิตต่อไร่

(กิโลกรัม)

3,088

3,506

3,492

3,561

3,611

3.34

3,562

 

หมายเหตุ: * ประมาณการ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

ตารางที่ 3 ราคาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปี 2554 – 2558

รายการ

2554

2555

2556

2557

2558

ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ [1]

2.38

2.02

2.13

2.10

2.16

ราคาส่งออกมันเส้น [2]

7.92

7.20

6.90

7.19

7.25

ราคาส่งออกมันอัดเม็ด [2]

7.40

7.04

7.51

7.53

7.98

ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง [2]

15.27

13.85

14.26

13.67

14.24

 

ที่มา:      [1] สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

            [2] กรมศุลกากร

  1. ความต้องการใช้

 

[2] สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2559, สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

          อุตสาหกรรมผลิตแป้งมันสำปะหลังถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีผลผลิตต่อปีประมาณ 22.2 ล้านตันต่อปี[2] การผลิตแป้งมันสำปะหลังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ แป้งมันสำปะหลังดิบ (Native Starch) และแป้งมันสำปะหลังดัดแปร (Modified Starch) ในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานที่ผลิตแป้งมันสำปะหลังทั้งหมด         90 โรงงาน แบ่งเป็น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดิบ 75 โรงงาน โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปร 27 โรงงาน โรงงานผลิตแป้งสาคู 2 โรงงาน โรงงานผลิตสารทดแทนความหวาน 3 โรงงาน และโรงงานผลิตพลังงาน 1 โรงงาน ทั้งนี้ยังรวมถึงโรงงานที่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังมากกว่า 2 รายการขึ้นไป[3]

 

          ในปี 2558 คาดว่าความต้องการใช้มันสำปะหลังในประเทศมีประมาณ 9.48 ล้านตัน เมื่อเทียบกับปี 2557 ที่มีความต้องการ 8.64 ล้านตัน พบว่า มีความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.72 ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตเอทานอลเพิ่มสูงขึ้น จากนโยบายยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ปัจจุบันมีโรงงานที่ใช้เฉพาะมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล 7 แห่ง ส่วนความต้องการใช้เพื่อผลิตแป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากแป้งมันสำปะหลังใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลากหลาย ส่วนมันเส้นมีความต้องการใช้ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์หันไปใช้พืชทดแทนอื่นๆที่มีราคาถูก ประกอบกับราคามันเส้นปรับตัวสูงขึ้น

  1. การค้า

          ปี 2554 – 2558 การส่งออกผลิตภะณฑ์มันสำปะหลัง ได้แก่ มันเส้น มันอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณและมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.46 และร้อยละ 11.81 ต่อปี ตามลำดับ โดยการส่งออกมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการส่งออกมันอัดเม็ดมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากอดีตไทยส่งออกมันอัดเม็ดไปยังสหภาพยุโรปเป็นหลัก แต่ปัจจุบันราคามันอัดเม็ดลดลงมากเนื่องจากข้อจำกัดทางวัตถุดิบและการนำไปแปรรูปเป็นรูปแบบอื่นได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงทำให้ผู้ประกอบการไทยหันไปหาตลาดใหม่ๆทดแทน เช่น จีน และญี่ปุ่น เป็นต้น

          ตลาดหลักที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเซีย มันเส้น ได้แก่ จีน มันอัดเม็ด ได้แก่ จีน และญี่ปุ่น แป้งมันสำปะหลังดิบ ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ไต้หวัน มาเลเซีย และญี่ปุ่น แป้งมันสำปะหละงดัดแปร ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้

 

 

 

 

ตารางที่ 4 สถิติการส่งออก ปี 2549 – 2558

ปี

มันเส้น

มันอัดเม็ด

แป้งมัน

รวม

2549

59.48%

5.91%

34.61%

6,669,247

2550

44.52%

24.08%

31.40%

7,031,775

2551

25.39%

33.51%

41.10%

4,834,783

2552

58.83%

5.03%

36.14%

6,907,905

2553

61.88%

2.34%

35.79%

6,795,532

2554

57.57%

0.57%

41.87%

6,404,679

2555

60.11%

1.06%

38.84%

7,934,400

2556

63.39%

0.86%

35.76%

9,349,412

2557

63.53%

0.15%

36.32%

10,902,197

2558

65.79%

0.29%

33.92%

11,286,122

 

ปริมาณ: ตัน

ที่มา: สมาคมการค้ามันสัมปะหลังไทย

  1. สถานะการณ์อุตสาหกรรมมันสำปะหลังของประเทศไทยในปี 2559
  1. พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและผลผลิตมันสำปะหลังในประเทศไทย

          คาดการว่าจะมีพื้นที่เก็บเกี่ยวลดลง จากสภาวะอากาศแห้งแล้งเป็นระยะเวลายาวนานทำให้มันสำปะหลังบางพื้นที่ตาย เกษตรกรขาดแคลนท่อนพันธุ์ที่จะใช้ปลูกทดแทนจึงปล่อยพื้นที่ว่างไว้ บางรายปลูกพืชชนิดอื่นที่หาพันธุ์ง่ายกว่าปลูกทดแทน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อย ถั่ว เป็นต้น ในด้านผลผลิตต่อไร่มีแนวโน้มที่จะลดลง เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน เกษตรกรจึงเก็บเกี่ยวก่อนครบอายุ ประกอบกับเกิดการระบาดของเพลี้ยแป้ง ทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายจึงต้องปลูกใหม่หลายรอบ บางพื้นที่ขาดแคลนท่อนพันธุ์ที่จะปลูกใหม่จึงหันไปใช้ท่อนพันธุ์นอกพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพดิน ส่งผลทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง ภาพรวมผลผลิตรวมทั้งประเทศจึงลดลงด้วย

  1. ความต้องการใช้

          ในปี 2559 คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้มันสำปะหลังเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจะเพิ่มขึ้น ส่วนความต้องการใช้เพื่อผลิตเป็นมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยคาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจะใกล้เคียง          กับปี 2558 เนื่องจากประเทศคู่ค้ายังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งในรูปของมันเส้นและแป้งมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้นำเข้าหลักของไทย

  1. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง

          เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ รวมถึงราคามันสำปะหลังตกต่ำ ซึ่งราคามันสำปะหลังตกต่ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินกำลังการผลิตของโรงแป้งมันสำปะหลังและลานมัน โดยในปี 2559 คาดว่าผลผลิตของมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาดมากในช่วงมกราคมถึงเมษายน ปริมาณ 21.22 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 68 ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งหมด[4] ดังนั้นหากเกษตรกรชะลอการเก็บเกี่ยวเพ่อไม่ให้ผลผลิตออกมามากเกินไป จะช่วยให้ราคามันสำปะหลังไม่ตกต่ำในช่วงเวลาดังกล่าว และหากเกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เพิ่มสูงขึ้นก็จะสามารถช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527