สวัสดี

Early Warning

แนวโน้มฉลากอาหารของสหภาพยุโรป ภายใต้กลยุทธ์ Farm to Fork (F2F)

กรกฎาคม 2564

รายละเอียด :

นางอูร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน (Ursula von der Leyen) ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ประกาศแผนนโยบาย European Green Deal หรือ “ข้อตกลงยุโรปสีเขียว” เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นนโยบายการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งขับเคลื่อนภูมิภาคยุโรปสู่สังคมไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี ค.ศ. 2050 และเป็นผู้นำในเวทีโลกด้านอุตสาหกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีสะอาด ซึ่งกลยุทธ์ “จากฟาร์มถึงปลายส้อม (Farm to Fork Strategy)” เป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของนโยบาย European Green Deal โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการผลิตอาหารที่ “เป็นธรรม ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ตั้งแต่กระบวนการปลูก การแปรรูป การบริโภคจนถึงการกำจัดขยะอาหาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายกลยุทธ์ดังกล่าวทางคณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดให้ฉลากอาหารเป็นหนึ่งในแนวทางการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยการแสดงข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ ชื่ออาหาร ส่วนประกอบอาหาร ข้อมูลทางโภชนาการ สารอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้ วันหมดอายุ(use-by date)/ ควรบริโภคก่อน (best before date) วิธีการเก็บรักษา วิธีการปรุงอาหาร ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอให้มีการพิจารณากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับฉลากอาหาร จำนวน 6 ฉบับ เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Farm to Fork โดยจะนำเสนอกฎระเบียบดังกล่าวภายใน  ปี 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.บังคับการติดฉลากข้อมูลโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (Mandatory front-of-pack nutrition labelling)

          กฎระเบียบด้านการให้ข้อมูลอาหารแก่ผู้บริโภค (Food Information to Consumer Regulation) กำหนดให้อาหารที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ต้องแสดงข้อมูลทางโภชนาการ (nutrition declaration) ให้ผู้บริโภคทราบ ได้แก่ ค่าพลังงาน ปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และเกลือ ซึ่งจะปรากฏอยู่บนฉลากด้านหลังบรรจุภัณฑ์ อย่างไรก็ตามกฎระเบียบดังกล่าวยังอนุญาตให้มีการแสดงข้อมูลทางโภชนาการในลักษณะเดียวกันกับฉลากด้านหลังหรือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การปรากฏเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ หรือ front-of-pack (FOP) เพื่อให้ผู้บริโภคมองเห็นข้อมูลสำคัญได้ง่ายขึ้น

          ปัจจุบันการติดฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ยังเป็นมาตรการสมัครใจ (voluntary basis) อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรปจะมีการเสนอให้การแสดงฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์เป็นมาตรการบังคับ (mandatory front-of-pack nutrition labelling) ในรูปแบบที่สอดคล้องกันทั่วทั้งสหภาพยุโรป ภายในปลายปี 2565 เพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ป้องกันความสับสนของผู้บริโภค และลดอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์อาหารในตลาดร่วม โดยรูปแบบฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ที่พบได้ในสหภาพยุโรป มีดังนี้

 

          เป็นการให้ข้อมูลสารอาหารที่สำคัญบางรายการ โดยใช้ตัวเลขหรือรหัสสี อาทิ ฉลากแสดงปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับ (Reference Intakes) ฉลากแสดงปริมาณสารอาหารแบบแบตเตอรี่ (Nutrinform BATTERY) ที่ใช้ในอิตาลี และฉลากสีสัญญาณไฟจราจร (Traffic light FOP) ที่ใช้ในสหราชอาณาจักร

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527