สวัสดี

Early Warning

ส่งออกอาหารฉายรังสีต้องระวัง...

ธันวาคม 2548

รายละเอียด :

สืบเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 ที่ ผ่านมาสินค้าอาหารประเภทเส้นหมี่สําเร็จรูปจากประเทศเกาหลีใต้และเห็ดหอมสดจากประเทศบอสเนียฯ ถูกสหภาพยุโรปปฏิเสธการนําเข้าเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีโดยไม่ได้ติดฉลากแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ

น.ส.อรอนงค์ มหัคฆพงศ์
ฝ่ายบริการข้อมูลและสารสนเทศ
โทร. 0 2886 8088 ต่อ 305 
ornanonm@nfi.or.th 

สืบเนื่องจากเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา สินค้าอาหารประเภทเส้นหมี่สําเร็จรูป จากประเทศเกาหลีใต้และเห็ดหอมสดจากประเทศบอสเนียฯ ถูกสหภาพยุโรปปฏิเสธการนําเข้าเนื่องจาก เป็น ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการฉายรังสีโดยไม่ได้ติดฉลากแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ อีกทั้งยังพบว่ามีปริมาณรังสีเกิน กําหนด (ที่ประเทศเยอรมนีและอิตาลีตามลําดับ) ซึ่งทําให้มีความกังวลว่าบะหมี่กึ่งสําเร็จรูปของไทยที่ส่ง ไปจําหน่ายยังอียูอาจเกิดกรณีเช่นเดียวกันนี้เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าว กับสินค้าของไทย ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อม และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผลิต ภัณฑ์อาหารไทยยังคงคุณภาพตามข้อกําหนดด้านสุขอนามัยของประเทศผู้นําเข้าและลดปัญหาการถูกกักกัน (quarantine) ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาคการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย

อาหารฉายรังสีในสหภาพยุโรป

การฉายรังสีอาหาร (Food irradiation) เป็นกรรมวิธีการแปรรูปอาหารเพื่อกําจัดหรือควบคุมเชื้อโรคและแมลงในผลิตภัณฑ์อาหาร ทั้งยังเป็นวิธีการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ซึ่งหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย จีน รวมทั้งไทยใช้กับผลิตภัณฑ์ อาหารประเภท ต่างๆ เช่น ข้าวสาลีมันฝรั่ง ผัก ผลไม้เครื่องเทศและสมุนไพร เนื้อหมูเนื้อวัว เนื้อปลา กุ้ง และเนื้อสัตว์ ปีก

อาหารฉายรังสีในประเทศไทย

ปัจจุบันอาหารฉายรังสีจากประเทศไทยยังไม้ได้ รับอนุญาตให้นําเข้าและจําหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปจน กว่าจะมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขภายใต้ Directive 1999/2/EC และ Directive 1999/3/EC ได้แก่ ต้องมีฉลากกํากับอาหารฉายรังสีมีเอกสารรับรองโดยระบุชื่อ สถานที่ตั้ง และจัดเก็บบันทึกข้อมูลการใช้รังสีเป็นเวลา 5 ปี และสถานที่ฉายรังสีต้องได้รับการตรวจสอบรับรองและ ขึ้นบัญชีจากผู้เชี่ยวชาญของอียูเสียก่อน โดยหน่วยงานรับ ผิดชอบของไทยสามารถแจ้งความประสงค์และยื่นเอกสาร ข้อมูลให้ Directorate-General of Health and Consumer Protection (DG-SANCO) คณะกรรมาธิการ ยุโรปพิจารณา ก่อนส่งคณะเจ้าหน้าที่หน่วยงาน FVO มาตรวจสอบ รับรองและอนุญาต ทั้งนี้ภาครัฐต้องส่งเสริมศักยภาพการผลิตอาหารฉายรังสีของผู้ประกอบการไทยไปพร้อมกับผลัก ดันให้หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญของอียูให้การรับรองแหล่งผลิตหรือโรงงานฉายรังสีอาหาร ซึ่งหากสํานักงาน อาหารและสัตวแพทย์ (Food and Veterinary Office หรือ FVO) ของอียูรับรองและอนุญาตก็จะช่วยขยาย โอกาสการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปอียูได้มากขึ้น และลดปัญหาการกักกันสินค้าอาหารไทยในอนาคต

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527