RESEARCH & ARTICLES

อาหารโมเลกุล Molecular gastronomy

อาหารโมเลกุล

Molecular gastronomy

สิริวรรณ  สุขนิคม

อาหารโมเลกุลคืออะไร ?????

อาหารโมเลกุล (molecular gastronomy) หรือเรียกได้หลายชื่อไม่ว่าจะเป็น Emotional cuisine , Experimental cuisine, Modern cuisine, Molecular cooking, New cuisine คือการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาหาร โดยมีเทคนิคการปรุงหรือการประกอบอาหารหลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างอาหารรูปแบบแปลกใหม่ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการรับประทานอาหารที่ทั้งอร่อยและแปลกตา  หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอาหารพวกนี้รับประทานได้จริงไหม หรือจริงๆแล้วทำออกมาโชว์แค่สวยงาม แต่จริงๆแล้วบางเทคนิคที่ใช้ในอาหารโมเลกุลก็เป็นเทคนิคที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารกันอยู่แล้ว 

ถ้าคิดจะทำอาหารโมเลกุลต้องมีอะไรบ้าง ?????

การทำอาหารโมเลกุลอาจต้องใช้วัตถุดิบ ส่วนผสมและเครื่องมือที่ซับซ้อนกว่าการผลิตอาหารทั่วไป เช่น

  • คาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อสร้างฟองในอาหาร
  • ไนโตรเจนเหลว โดยไนโตรเจนเหลวจะเป็นสารทำความเย็นทำให้อาหารแข็งตัวอย่างรวดเร็ว
  • มอลโตเด็กทริน มอลโตเด็กทรินจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภทหนึ่ง
  • เลซิทิน เลซิทินจัดเป็นอิมัลซิไฟเออร์ ทำหน้าที่ช่วยให้น้ำมันกับน้ำสามารถรวมกันได้
  • ไฮโดรคอลลอยด์ ได้แก่ สตาร์ซ, เจลาติน, เพกติน
  • โซเดียมอัลจิเนตและแคลเซียม
  • เอนไซม์ทรานกลูตาอมิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ เพื่อทำให้เกิดความเหนียว

เทคนิคที่ใช้ในอาหารโมเลกุล มีหลายเทคนิคได้แก่

  • Sous-Vide เป็นเทคนิคการปรุงอาหารโดยนำอาหารใส่ลงในถุงพลาสติกที่ปิดสนิทไม่มีอากาศจากนั้นนำไปจุ่มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ
  • การใช้ไนโตรเจนเหลวเพื่อทำให้อาหารภายนอกแข็งเพื่อห่อหุ้มอาหารไว้ภายใน
  • Faux Caviar หรือเทคนิคการทำ Spherical หรือเทคนิคการทำให้เป็นเม็ดเจล ซึ่งเม็ดเจลนี้จะห่อหุ้มของเหลวชนิดต่างๆไว้ข้างใน เมื่อกินเม็ดเจลนี้เข้าไปก็จะแตกหรือละลายในปาก โดยวัตถุดิบที่สำคัญในการทำเม็ดเจล คือโซเดียมอัลจิเนตและแคลเซียม โดยวิธีการทำเริ่มจากนำโซเดียมอัลจิเนตมาละลายในอาหารเหลว จากนั้นนำอาหารเหลวที่ผสมโซเดียมอัลจิเนต ค่อยๆ หยดลงไปในน้ำที่มีแคลเซียมละลายอยู่ จากนั้นค่อยๆซ้อนเม็ดเจลที่ได้ขึ้นจากน้ำ โดยความเข้มข้นของโซเดียมอัลจิเนตและแคลเซียมจะส่งผลต่อลักษณะของเม็ดเจลเช่น ขนาดและความกลมของเม็ดเจล
  • การทำโฟม โดยทั่วไปนิยมใช้เลซิตินผสมกับส่วนผสมอาหารแล้วตีให้เกิดฟอง

จะเห็นได้ว่า อาหารโมเลกุลเป็นอาหารที่ส่วนใหญ่เราสามารถพบได้ทั่วไป เพราะส่วนใหญ่เป็นการนำเทคนิคในอุตสาหกรรมอาหารทั่วไปมาประยุกต์ใช้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ผลิตอาหารแต่ละรายว่าจะสามารถสร้างสรรค์อาหารได้แปลกใหม่มากแค่ไหน ซึ่งนับเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าแนวทางหนึ่ง

เอกสารอ้างอิง

  1. http://thegreatgastro.com/en/what-is-molecular-gastronomy-2/
  2. http://www.vwander.com/molecular-gastronomy.html
  3. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/586551
  4. https://www.youtube.com/results?search_query=molecular+gastronomy

ดาว์นโหลด

You may be interested in this?

“อาหารสำหรับผู้สูงอายุ” ความท้าทายของนักเทคโนโลยีการอาหาร

คำว่า “ผู้สูงอายุ” องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ได้ให้นิยามว่า หมายถึงผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังแบ่งกลุ่มเป็น พวก young – old คืออายุช่วง 65-74 ปี middle old คืออายุช่วง 75-84 ปีและ o...

อ่านต่อ

เศษเหลือของผลเกรปฟรุท ส้ม มะนาว และ แอบเปิล : แหล่งของเส้นใยอาหารเข้มข้นสำหรับการปรับคุณลักษณะของอาหาร

เส้นใยอาหาร (Dietary fibre) เป็นองค์ประกอบที่ประกอบไปด้วยโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง ได้แก่ เซลลูโลส (cellulose) เฮมิเซลลลูโลส (hemicellulose) เพคติน (pectin) เบต้ากลูแคน (beta-glucans) กัม (gu...

อ่านต่อ

โสม : อาหารฟังก์ชั่น

โสมหรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “Ginseng” มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน มีชื่อว่า “Jin-chen”, “ Jen-chen” หรือ Schinseng เป็นพืชในตระกูล Araliaceae และอยู่ในจีนัส Panax ต้นโสมมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panaceae...

อ่านต่อ