สวัสดี

อุตสาหกรรมอาหารโลก (World Food Situation) 6 เดือนแรกปี 2562 และแนวโน้ม

พฤษภาคม 2562

650,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 2.4 (YoY) เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมลดต่ำลงตามภาวะเศรษฐกิจประเทศต่างๆ ที่ชะลอตัวจากความผันผวนการเมืองระหว่างประเทศและสงครามการค้า รวมทั้งภาวะราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ การค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรและวัตถุดิบอาหารมีมูลค่าลดลง ในขณะที่กลุ่มอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยในช่วง 6 เดือนแรกปี 2562 การค้าในกลุ่มสินค้าเกษตรและวัตถุดิบอาหารมีมูลค่า 425,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 3.8 (YoY) ส่วนทางกับกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปที่มีมูลค่าการค้า 224,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (YoY) สัดส่วนการค้าในกลุ่มสินค้าอาหารแปรรูปเทียบกับภาพรวมการค้าอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33.6 ในปี 2561 เป็นร้อยละ 34.6 ในปี 2562

มูลค่าการค้าน้ำมันพืชและน้ำตาลทรายหดตัวรุนแรง มีเพียงกลุ่มธัญพืชและพาสต้า/เบเกอรี่ที่มูลค่าการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมูลค่าการค้าน้ำตาลทรายลดลงร้อยละ 20.7 ตามราคาน้ำตาลทรายที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ เพราะปริมาณอุปทานน้ำตาลทรายในตลาดโลกยังคงเกินดุลในระดับสูงหลังจากที่คาดว่าปริมาณผลผลิตน้ำตาลของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อย่างบราซิลและสหภาพยุโรปจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งอินเดียมีผลผลิตน้ำตาลทรายส่วนเกินความต้องการบริโภคและได้รับการอุดหนุนส่งออกสู่ตลาดโลกหลายล้านตัน

ขณะที่มูลค่าการค้าน้ำมันพืชของโลกหดตัวลงร้อยละ 10.5 ตามราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ลดลงเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและการระบาดของโรคอหิวาต์หมูในประเทศจีน ทำให้ความต้องการกากถั่วเหลืองเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ลดลง ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มที่เป็นสินค้าทดแทนปรับตัวลดลงตามไปด้วย ส่วนมูลค่าการค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์และอาหารทะเลทั้งสดแช่แข็งและแปรรูปลดลงเล็กน้อยตามกำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลก รวมทั้งการลดลงของราคาวัตถุดิบกุ้ง ปลาทูน่า และวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างกากถั่วเหลือง

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527