สวัสดี

สถานการณ์ตลาดทูน่าแปรรูป

แชร์:
Favorite (38)

เมษายน 2564

ผลกระทบจากโควิด 19 ที่มีต่ออุปทานปลาและอาหารทะเลของโลกมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของอาหารทะเล ในขณะที่อาหารทะเลสดและประเภทแช่เยือกแข็งได้รับผลกระทบรุนแรงเนื่องจากแหล่งให้บริการอาหารถูกปิดและตามมาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารกระป๋องและผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่ม (การบริโภคภายในบ้าน) มียอดขายเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคกักตุนอาหารกระป๋อง อย่างไรก็ตาม มาตรการการป้องกันจากรัฐบาลต่างๆ ในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคส่งผลกระทบต่อทุกขั้นตอนในสายโซ่อุปทานอาหารทะเล ตั้งแต่การประมงและการผลิตแบบเพาะเลี้ยง การแปรรูป การขนส่ง และการตลาด นอกจากนี้ สถานการณ์ยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งต้องหาผู้ซื้อสินค้าที่ค้างคลังอยู่ และในที่สุดนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาล จากข้อมูลของสถาบันประมงแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า อุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกามีหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นราว 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นับตั้งแต่เริ่มมีการระบาด โดยหนี้ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มของผู้ประกอบการขนาดเล็กซึ่งพยายามหาทางเพื่อความอยู่รอด ในตลาดโลกผู้ประกอบการอาหารทะเลขนาดใหญ่พยายามปรับตัวเข้ากับความท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปสงค์ที่ผันผวน การปิดแหล่งให้บริการอาหาร และอุปสรรคในการขนส่ง นอกจากนี้ การแปรรูปอาหารทะเลยังได้รับผลกระทบจากประเด็นเรื่องสุขอนามัยของพนักงานและการขาดแรงงานอันเป็นผลมาจากโควิด 19 และการกักตัวของพนักงาน

  โควิด 19 ยังเร่งการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการบริโภคซึ่งผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารทะเลต้องคิดใหม่และสร้างนวัตกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช่องทางการกระจายสินค้าแบบใหม่ รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรม และห่วงโซ่อุปทานที่สั้นลง ความสำคัญของการขายปลีกมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแทนที่แหล่งบริการอาหารเนื่องจากร้านอาหารต่างๆ ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่  ผู้บริโภคมีความกังวลว่าอาจจะเกิดการ     ล็อคดาวน์อีก และเว้นระยะห่างจากกิจกรรมทางสังคมที่เคยทำอยู่บ่อยๆ อาทิ การรับประทานอาหารนอกบ้าน หรือการไปซื้อของที่ร้านค้า ประเด็นเหล่านี้ผลักดันความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารทะเลประเภทพร้อมปรุงและพร้อมรับประทานให้เพิ่มสูงขึ้น ในระหว่างล็อคดาวน์ กิจกรรมที่เป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็วคือการทำอาหารกินเองที่บ้าน ซึ่งช่วยส่งเสริมช่องทางอี-คอมเมิร์ซและรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นความสะดวกให้เติบโตยิ่งขึ้น

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527