สวัสดี

สถานการณ์ตลาดอาหารในสหราชอาณาจักรหลังการแพร่ระบาดโควิด-19

แชร์:
Favorite (38)

ธันวาคม 2563

โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดในสหราชอาณาจักรช่วงเดือนมกราคม 2563 หลังจากนั้นก็แพร่กระจายรุนแรงพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ณ วันที่ 6 มกราคม 2564 มีผู้ป่วยยืนยันแล้ว 2,836,801 ราย และเสียชีวิต 77,346 ราย ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตสูงสุดอันดับ 8 ของโลกต่อประชากรแสนคน และจำนวนสูงสุดโดยรวมในยุโรป รัฐบาลประกาศใช้มาตรการ Lockdown ทั่วประเทศ โดยขอให้ประชาชนงดเว้นการออกจากบ้าน เว้นแต่การดำเนินกิจกรรมที่จำเป็น เช่น การซื้ออาหาร ยา พบแพทย์ และออกกำลังกายได้วันละ 1 ครั้ง และมีคำสั่งปิดร้านค้า ร้านอาหาร สถานที่สาธารณะ และสถานที่ชุมชน เพื่อลดอัตราการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา และได้เริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการต่างๆ เป็นระยะ มาตรการเหล่านี้ได้ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเปลี่ยนแปลงไป

          สหราชอาณาจักรเป็นสังคมผู้บริโภคตลาดมวลชน (Mass market) แม้ว่าการบริโภคที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อระบบนิเวศจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น  แต่ทว่าปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการซื้อของผู้บริโภคอันดับต้นๆ  ยังได้แก่ ราคา คุณภาพ การออกแบบ ตราสินค้าหรือประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม  ส่วนการพิจารณาให้มีบริการหลังการขายและการเรียกร้องสิทธิที่พึงได้เป็นเรื่องปกตื้นฐานที่พึงมี  ชาวอังกฤษนิยมซื้อสินค้าทางออนไลน์มากขึ้น  ดังนั้นการค้าออนไลน์จึงเป็นตลาดที่สำคัญ  ในประเด็นการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษ  ชาวอังกฤษ 6 ใน 10 คนกล่าวว่าต้นกำเนิดในสหราชอาณาจักรมีความสำคัญพอๆ กับราคา  และความภักดีต่อตราสินค้ามักขึ้นอยู่กับราคาด้วย

          การระบาดของโควิด -19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยพบว่า 63% ของผู้บริโภคใน สหราชอาณาจักรเปลี่ยนร้านค้า แบรนด์ หรือวิธีการจับจ่าย ผู้บริโภคมากถึง 50% ลดการใช้จ่ายในหมวดหมู่ตามดุลยพินิจส่วนใหญ่  ผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรจำนวนมากเปลี่ยนไปใช้การซื้อและบริการทางออนไลน์และหลายคนตั้งใจที่จะดำเนินการต่อหลังจากที่ โควิด - 19 บรรเทาลง

          การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ยอดขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากบริษัทวิจัยตลาด Nielsen แสดงให้เห็นว่ายอดขายอาหารและเครื่องดื่มอินทรีย์มีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 6.1%  นับเป็นเกือบสองเท่าของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ใช่อินทรีย์ซึ่งมีอัตราเติบโตอยู่ที่ 3.2%  ณ เดือนพฤษภาคม 2563 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยทั่วไปการซื้อผลิตภัณฑ์อินทรีย์จะวางจำหน่ายในร้านค้าอิสระ หรือจัดส่งที่บ้าน

          ผู้บริโภคเกือบทั้งหมดที่มีอายุ 16 - 44 ปี ในสหราชอาณาจักรเป็นกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (99%) ล่าสุดในปี 2562 พบว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กก็มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อเช่นกัน อัตราการเข้าถึง (Penetration rate) อยู่ที่ 58% และ Facebook เป็นเครือข่ายหลัก

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527