สวัสดี

อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

สิงหาคม 2562

ปัจจุบันสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Health and Wellness) กำลังเป็นกระแสความต้องการที่มาแรงอย่างมากในทุกตลาดทั่วโลก รวมถึงตลาดประเทศไทย และไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี แต่กลุ่มผู้บริโภควัยหนุ่มสาว และวัยทำงาน ต่างเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน ขณะเดียวกันบรรดาผู้ผลิตต่างมองเห็นโอกาสการเติบโตของตลาดดังกล่าว และได้พยายามพัฒนาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ด้วยการต่อยอดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแบบเดิม ไปสู่สินค้าที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น บำรุงสมอง บำรุงผิวพรรณ กระตุ้นระบบขับถ่าย รวมถึงสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ และปลอดสารเคมี

โดยในปี 2561มีมูลค่า 190,219 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย ร้อยละ 3.4 ต่อปี ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2561) โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าอาหาร มีสัดส่วนมูลค่าตลาด ร้อยละ 53.4 ซึ่งถือเป็นชนิดสินค้าที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดเป็นอย่างมาก ด้วยอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.5 ต่อปี ขณะที่สินค้าเครื่องดื่ม มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่ำกว่า อยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี เท่านั้น  ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโตของตลาดดังกล่าว คือ วิถีการใช้ชีวิตของผู้บริโภคชาวไทยที่มีความเร่งรีบมากขึ้น และเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตน ทำให้พวกเขามีความต้องการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่นอกจากจะรับประทานได้สะดวกรวดเร็วสอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ยุ่งวุ่นวายในแต่ละวันแล้ว ยังต้องให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายอีกด้วย ประกอบกับปัจจัยด้านรายได้ที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนบางส่วนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นสำหรับการซื้อหาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ซึ่งมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติทั่วไป ให้กับตนเองและครอบครัว  นอกจากนี้มาตรการของรัฐบาลไทยในการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกิน และดูแลสุขภาพให้มากขึ้น ทั้งมาตรการทางตรง เช่น การเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ และมาตรการทางอ้อม เช่น มาตรการจัดเก็บภาษีความหวานจากเครื่องดื่ม ขณะที่ผู้ประกอบการไทยได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจมาเน้นการพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นความต้องการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีในตลาดไทย

ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527