สวัสดี

ตลาดเนื้อสัตว์แปรรูปในจีน

แชร์:
Favorite (38)

กรกฎาคม 2560

จีนเป็นประเทศหนึ่งที่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณการบริโภคเนื้อเฉลี่ยของชาวจีน อยู่ที่คนละ 49.2 กิโลกรัม/ปี ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยคนละ 64.6 กิโลกรัม/ปี ในปี 2556 (รูปที่ 1) นอกจากนี้จีนยังเป็นประเทศที่มีการบริโภคเนื้อสัตว์มากที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN+3 คิดเป็นปริมาณ 87.6 ล้านตัน โดยเนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ที่ชาวจีนชอบรับประทาน คือ เนื้อหมู มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 62.4 ของปริมาณการบริโภคเนื้อทั้งหมด รองลงมาได้แก่ เนื้อสัตว์ปีก (อาทิ เนื้อไก่ และเนื้อเป็ด) เนื้อวัว และเนื้อแพะแกะ มีสัดส่วนร้อยละ 22.2 8.5 และ 5 ตามลำดับ ในปี 2556

สถานการณ์ตลาดเนื้อสัตว์แปรรูปในจีน

จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ประกอบกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของชาวจีนที่เปลี่ยนแปลง โดยพวกเขาหันไปเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจอาหารแปรรูป โดยเฉพาะเนื้อสัตว์แปรรูป ทั้งแบบบรรจุกระป๋อง และแบบแช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งจะเห็นได้จากการจำหน่ายสินค้าเนื้อแปรรูปในตลาดจีน ทั้งเนื้อแดง และเนื้อสัตว์ปีก ในปี 2559 มีปริมาณ 2,362,700 ตัน มูลค่า 73,324.3 ล้านหยวน หรือมีอัตราการหดตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปี ในเชิงปริมาณ แต่ค่อนข้างทรงตัวในเชิงมูลค่า ตลอดช่วงที่วิเคราะห์ (ปี 2555-2559) (รูปที่ 3) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวจีนที่หันไปเน้นการรับประทานอาหารปรุงสดใหม่และอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดการเติบโตของสินค้าเนื้อแดงแปรรูปบรรจุกระป๋อง

ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซาอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลต่อการเติบโตของสินค้าเนื้อแดงแปรรูปแช่เย็นแช่แข็งเช่นกัน แม้ประเทศจีนจะมีการพัฒนาระบบ cold-chain ที่สามารถช่วยรักษาความสดและคุณภาพของสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากสินค้าดังกล่าวมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง   สำหรับสินค้าเนื้อสัตว์ปีกแปรรูป ถือว่ามีส่วนแบ่งค่อนข้างจำกัดในตลาดจีน   ทั้งนี้ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน พบว่า มีสัญญาณความต้องการบริโภคกลุ่มสินค้าเนื้อแดงแปรรูปแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้น โดยได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาธุรกิจบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน โดยเฉพาะอาหารประเภทหม้อไฟ ซึ่งเป็นเมนูอาหารยอดนิยมของชาวจีน และมักใช้สินค้าอาหารแปรรูปแช่แข็งเป็นส่วนประกอบหลัก 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527