สวัสดี

ตลาดบิสกิตและสแน็คบาร์ในประเทศไทย

แชร์:
Favorite (38)

พฤษภาคม 2559

ในปี 2558 ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยมูลค่าตลาดบิสกิตและสแน็คบาร์อยู่ที่ 11,678 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มบิสกิต 11,063 ล้านบาท และกลุ่มสแน็คบาร์ 615 ล้านบาท โดยจะเห็นว่าตลาดกลุ่มนี้มีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดขนมขบเคี้ยวทั้งประเทศ

บทนำ  

ในปี 2558 ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยมูลค่าตลาดบิสกิตและสแน็คบาร์อยู่ที่ 11,678 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มบิสกิต 11,063 ล้านบาท และกลุ่มสแน็คบาร์ 615 ล้านบาท โดยจะเห็นว่าตลาดกลุ่มนี้มีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดขนมขบเคี้ยวทั้งประเทศ จึงทำให้มีผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด ส่งผลให้ปัจจุบันการแข่งขันในตลาดบิสกิตและ สแน็คบาร์ในประเทศไทยมีการแข่งขันค่อนข้างสูง จึงเป็นเรื่องท้าทายของผู้ประกอบการที่จำเป็นจะต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อมาจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาสนใจและเลือกซื้อสินค้า

อย่างไรก็ตาม จากเทรนด์ในเรื่องของสุขภาพ ทำให้ผู้บริโภคหันมาใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารและมีความกังวลต่อสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดบิสกิตและสแน็คบาร์ โดยเฉพาะสินค้าประเภทซีเรียลบาร์ และบาร์ที่ให้สารอาหารและพลังงาน เพราะเป็นสินค้าที่มีการเติบโตมากที่สุดในกลุ่มบิสกิตและ สแน็คบาร์ในประเทศไทย เนื่องจากซีเรียลบาร์มีส่วนประกอบของธัญพืชจึงมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ส่วนบาร์ที่ให้สารอาหารและพลังงานสารอาหาร จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารและพลังงานที่เพียงพอให้แต่ละวัน ดังนั้น ทั้ง 2 ประเภทนี้จึงเป็นเทรนด์ใหม่ ที่เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่กำลังมองหาความสะดวกในการรับประทานขนมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์

บิสกิตรสหวานเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาดบิสกิตและสแน็คบาร์ในประเทศไทย โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 9,593.5 ล้านบาท ในปี 2558 มีการเติบโตร้อยละ 5.2 จากปี 2557 ในกลุ่มของบิสกิตและสแน็คบาร์ บาร์ที่ให้สารอาหารและพลังงานเป็นสินค้าที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 45.2 ล้านบาท  ในปี 2558 เติบโตร้อย 9.9 จากปี 2557  ส่วนซีเรียลบาร์เป็นสินค้าที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 79 ล้านบาทในปี 2558 เติบโตร้อยละ 8.5 จากปี 2557
ผู้นำตลาดกลุ่มบิสกิตและสแน็คบาร์ได้แก่ บริษัท ยูอาร์ซี (ประเทศไทย) จํากัด เป็นผู้เล่นจากต่างประเทศ โดยครองส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 26 ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง Jack 'n Jill ที่แตกไลน์ผลิตภัณฑ์ออกเป็น ฟันโอ Magic Drewberry และ Lausanne สินค้าของบริษัทมีจุดเด่นอยู่ที่ราคาไม่แพง ทำให้สามารถขยายตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถดึงดูดผู้บริโภคที่อ่อนไหวทางด้านราคา หรือมีกำลังซื้อน้อยได้ นอกจากนี้ บริษัทมีการลงทุนด้านกิจกรรมทางการตลาด เช่น การโฆษณาผ่านทางสื่อต่างๆ จึงช่วยสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการลงทุนสร้างโรงงานในประเทศ เพื่อผลิตสินค้าที่มีรสชาติถูกปากคนไทย และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย 
บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ครองตำแหน่งอันดับที่ 2 โดยมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 14 ภายใต้แบรนด์ที่มีชื่อเสียง เช่น Homey และ Bissan จากการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดบิสกิต ทำให้บริษัทมียอดจำหน่ายลดลงในปี 2558 ดังนั้นบริษัทจึงมีการลงทุนเพิ่มทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสื่อสารทางการตลาด เพื่อกระตุ้นและดึงส่วนแบ่งตลาดกลับคืนมา
ผู้เล่นในตลาดทั้งจากในประเทศและต่างประเทศครองส่วนแบ่งการตลาดกลุ่มบิสกิตและสแน็คบาร์ในปริมาณที่ใกล้เคียงกันในปี 2558 แต่เนื่องจากทางตะวันตกเป็นต้นกำเนิดของสแน็คบาร์ ทำให้ผู้ผลิตจากต่างประเทศครองส่วนแบ่งหลักในกลุ่มสแน็คบาร์ในประเทศไทย ทางด้านการแข่งขันระหว่างผู้เล่นในประเทศและต่างประเทศ ผู้เล่นในประเทศจะเน้นการแข่งขันทางด้านราคา โดยขายสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันกับแบรนด์จากต่างประเทศแต่จะราคาที่ถูกกว่าเพื่อดึงดูดผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อน้อย

 

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527