สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ภาพรวมปี 2565 และแนวโน้มปี 2566

กุมภาพันธ์ 2566

รายละเอียด :

  1. การผลิต

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.4 ในไตรมาสก่อน เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากการส่งผ่านต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้า เกิดภาวะเงินเฟ้อในฝั่งอุปทานที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปลายปีกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นส่งออก ประกอบกับมีการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นรองรับคำสั่งซื้อไปมากแล้วก่อนหน้านี้ ทำให้ภาพรวมการผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 อ่อนตัวลง

อุตสาหกรรมรายสาขาส่วนใหญ่มีการผลิตหดตัวลง อาทิ กะทิ (-20.9%), นมถั่วเหลือง (-19.6%), อาหารชุดสำเร็จรูปพร้อมปรุง (-15.0%), น้ำผลไม้ (-11.2%), แป้งมันสำปะหลัง (-9.0%), ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (-6.9%), กาแฟ (-6.2%) และกุ้งแช่แข็ง (-5.9%) เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมรายสาขาที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ สาขาการผลิตน้ำมันปาล์ม (+30.5%), น้ำตาลทราย (+13.0%), เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็ง (+5.2%) และเครื่องดื่ม (+1.9%) โดยการผลิตน้ำมันปาล์มและน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้นตามปริมาณวัตถุดิบปาล์มน้ำมันและอ้อยโรงงานที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้นจากการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดจีน สหภาพยุโรป และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก (มาเลเซีย สิงคโปร์ เมียนมาร์) หลังจากหลายประเทศในภูมิภาคควบคุมการส่งออกไก่เพราะกังวลเรื่องความมั่นคงอาหาร ไทยจึงได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าว การผลิตเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกและอาเซียน ส่วนการผลิตเครื่องดื่มโดยเฉพาะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขยายตัวตามทิศทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวในช่วงปลายปี

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทย ปี 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ตามทิศทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและบริโภคทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศหลังโควิด-19  อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตโดยรวมได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับขึ้นราคาสินค้า ด้านหนึ่งส่งผลบวกต่อรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น แต่อีกด้านก็บั่นทอนกำลังซื้อผู้บริโภค

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527