สวัสดี

Quarterly Situation

อุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 และแนวโน้มไตรมาสที่ 4 ปี 2564

พฤศจิกายน 2564

รายละเอียด :

การผลิตอุตสาหกรรมอาหารไทยไตรมาสที่ 3 ปี 2564 หดตัวลงร้อยละ 3.8 สวนทางกับที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 ในไตรมาสก่อน โดยการผลิตได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรวัตถุดิบ ประกอบกับสาขาอุตสาหกรรมบางส่วนยังไม่สามารถผลิตได้ตามศักยภาพ หลังจากธุรกิจเกี่ยวเนื่องยังคงซบเซา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมไก่ได้รับผลกระทบจากคู่ค้าหลักอย่างญี่ปุ่นยังไม่เปิดประเทศ ส่วนจีนที่นำเข้าไก่แช่แข็งก็ชะลอการนำเข้าเพราะผลผลิตเนื้อหมูในประเทศมีราคาต่ำลงหลังฟื้นตัวจากโรคอหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASF)

อุตสาหกรรมรายสาขาที่การผลิตปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง (+63.9%), น้ำตาลทราย (+61.2%), แป้งมันสำปะหลัง (+21.9%), อาหารพร้อมรับประทาน (+13.0%), กุ้งแช่แข็ง (+9.1%), ผลิตภัณฑ์มะพร้าว (กะทิ) (+8.2%) และเครื่องปรุงรส (+5.5%) โดยการผลิตสับปะรดกระป๋องและกุ้งแช่แข็งเพิ่มสูงขึ้นมากความต้องการนำเข้าสูงขึ้นในธุรกิจบริการอาหาร (HORECA) หลังจากผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่พระบาดของ COVID-19 ปริมาณวัตถุดิบสับปะรดโรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นและราคาอ่อนตัวลงส่งได้ผลดีต่อโรงงานแปรรูป ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นตามปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานสูงกว่าปีก่อน แป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำเข้าของจีนและกลุ่มลูกค้าในภูมิภาคเป็นหลัก

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527