สวัสดี

ออสเตรเลียออกมาตรการควบคุมสารเคมีในอาหารบางชนิด

แชร์:
Favorite (38)

4 มิถุนายน 2555

ออสเตรเลียออกมาตรการควบคุมสารเคมีในอาหารบางชนิด

สำนักงานมาตรฐานอาหารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (Food Standard Australia and New Zealand: FSANZ) ประกาศมาตรการควบคุมการใช้สารเคมีบางชนิดในอาหารภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้แก่

1) ห้ามใช้ Carbon monoxide เป็น processing aid ในสินค้าปลาสดทุกชนิด แม้ว่าจะเคยอนุญาตให้ใช้ในปริมาณ 0.4% เพื่อรักษาสีแดงของเนื้อสด และ ปลา tilapia โดยมีกังวลว่าจะเป็นการปกปิดการเสื่อมสภาพของเนื้อปลาที่เกิดจากการเน่าเสียโดยแบคทีเรีย เช่น กลิ่นเน่า หรือสีที่ดำคล้ำในขณะที่ยังมองเห็นเนื้อสัตว์มีสีแดงอยู่ ซึ่งหากอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทผู้บริโภคจะไม่สามารถสังเกตุเห็นได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลออสเตรเลียยังอนุญาตให้ใช้ carbon monoxide เป็นวัตถุเจือปนอาหารสำหรับแซลมอนรมควันและเนื้อสัตว์อื่นได้ต่อไป

2) อนุญาตให้ใช้ Hydrogen peroxide เพื่อเป็น processing aid สำหรับการรักษาระดับความเป็นกรดด่าง (pH levels) ในผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากมีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อแลคติกแอซิดแบคทีเรียในระหว่างกระบวนการผลิตได้ โดยจะกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาต (Maximum permissible limit: MPL) ไว้ที่ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งความเข้มข้นที่กำหนดนี้มีความเสี่ยงระดับต่ำที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดย FSANZ Standard 1.3.3 จะอนุญาตให้ใช้ hydrogen peroxide เพื่อเป็น processing aid กับผลิตภัณฑ์นมต่อไปนี้

นมและผลิตภัณฑ์นมที่ได้จาการหมักด้วยจุลินทรีย์

ชีสและผลิตภัณฑ์ชีสที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่ใช้กรดแลกติก แต่ไม่อนุญาตให้ใช้ในกรณีต่อไปนี้

เป็นทางเลือกในการปฏิบัติเพื่อสุขอนำมัยที่ดี (an alternative to good hygienic practice)

เป็นสารคงสภาพสีของน้ำนม (stabilise deteriorating milk)

การควบคุมการใช้สารเคมีในอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่หลายประเทศมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ ปริมาณที่อนุญาต หรือจำกัดการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิด ซึ่งผู้ประกอบการไทยต้องติดตามและตรวจสอบปริมาณการใช้ตามที่กำหนดไว

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527