สวัสดี

FDA ปรับขึ้นค่าตรวจสอบ กรณีพบสินค้ามีปัญหา หรือต้องเรียกคืน

แชร์:
Favorite (38)

4 สิงหาคม 2554

 

FDA ปรับขึ้นค่าตรวจสอบ กรณีพบสินค้ามีปัญหา หรือต้องเรียกคืน

                สำนักงานอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริการ (US FDA1) ประกาศอัตราค่าบริการสำหรับการตรวจสอบสินค้าซ้ำ และคำสั่งเรียกคืนสินด้า ภายใต้บทบัญญัติ Food Safety Modernization Act (FSMA) เตรียมบังคับใช้ 1 ตุลาคมนี้

                US FDA ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมในปีงบประมาณ ค.ศ 2012 (1 ต.ค 2554 – 30 ก.ย. 2555) สำหรับการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารเช้า (reinspection) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสินค้าที่ถูกเรียกคืน (recall) และการตรวจสอบผู้นำเข้าตามข้อบังคับแห่ง FSMA มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค 2554 เป็นต้นไปและคงอัตราดังกล่าวจนสิ้นสุดปีงบประมาณ

                โดยค่าธรรมเนียมอาจอยู่ที่ 224 หรือ 335 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง สำหรับการตรวจสอบโรงงานผลิตนต่างประเทศซึ่งรวมค่าเดินทางเดียว โดยจะเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าตรวจสอบครั้งที่ 2 หลังจากการตรวจสอบในครั้งแรกพบว่าสถานการณ์ที่ผลิตอาหารมีปัญหา ทั้งสภาวะแวดล้อมหรือกระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมกับการผลิตอาหาร ตามข้อข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหาร เช่นเดียวกันกับสินค้าอาหารซึ่งถูกปฎิเสธการนำเข้า (refusal) อันเนื่องมาจากสินค้ามีคุณภาพไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหาร

                อัตราค่าบริการตรวจสอบดังกล่าวคิดตามชั่วโมงการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบช้ำและการเรียกคืนสินค้าเนื่องจากไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งไม่เพียงแต่นับตามเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิต หากแต่หมายรวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ผลิตและใช้ในการตรวจสอบวิเคราะห์อีกด้วย

                ทั้งนี้ สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (small business) FDA ประกาศจะลดค่าธรรมเนียมในบริการดังกล่าว และยกเว้นให้กับสินค้าอาหารผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าสามารถแสดงหลักฐานยืนยันได้ว่าสินค้าไม่มีการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอม (adulteration) หรือแสดงฉลากสินค้าเป็นเท็จ (misbranding)

                โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้ ถือเป็นเงินอุดหนุนการทำหน้าที่ของ FDA ในการปฎิบัติตาม FSMA ซึ่งประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับการเรียกคืนสินค้าอาหารปนเปื้อนที่มีมากมายตลอดปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกคืนถั่วลิสงที่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ก่อโรคซาลโมเนลลา (salmonella-tainted peanut products) ซึ่งคร่าชีวิตประชากรอเมริกันไปอย่างน้อย 9 รายเมื่อต้นปี 2552

                สถิติจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ หรือ CDC2 รายงานว่าในแต่ละปี มีชาวอเมริกันจำนวนกว่า 48 ล้านคนมีอาการป่วยเนื่องจากอาหารเป็นพิษ (food borne illness) และกว่า 3,000 รายเสียชีวิต ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ประจำ FDA คุณ Robert Scharff ได้ประมาณการว่าสาเหตุดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นมูลค่าสูงถึง 152 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527