4 เมษายน 2553
องค์การอนามัยโลก (World HealthOrganization: WHO) ร่วมกับสำนักงานอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) ออกแผนรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินสำหรับความไม่ปลอดภัยอาหาร หรือ FAO/WHO framework for developing national food safety emergency response plans โดยใช้หลักการของการวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที แม้ว่าในหลายๆประเทศพัฒนาระบบควบคุมความปลอดภัยอาหารและมีแผนเตรียมพร้อมรับเหตุฉุกเฉินอย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม แต่คำแนะนำนี้จะช่วยให้การเตรียมพร้อมมีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นให้คำแนะนำในการจัดเตรียมบุคลากรผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เกษตร อาหาร และเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เพื่อลดความซับซ้อนของการประสานงานในแต่ละขั้นตอน ซึ่งช่วยให้สามารถจัดการหากเกิดกรณีเร่งด่วนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดได้จาก http://www.who.int/foodsafety/publications/fs_management/ERb1_E_L_101012.pdf
แผนนี้ WHO / FAO จัดทำขึ้นหลังกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีลงสู่พื้นที่เกษตรและท้องทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำหรับบริโภคและส่งออก ส่งผลให้ประเทศผู้นำเข้าอาหารญี่ปุ่นต้องออกมาตรการตรวจสอบปริมาณสารกัมมันตรังสปนเปื้อนในอาหารนำเข้า เพื่อป้องกันผู้บริโภคจากการได้รับรังสีเกินปริมาณที่ปลอดภัย เช่น สหภาพยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบอาหารและอาหารสัตว์นำเข้าที่ผลิตจากเขตแผ่นดินไหวและกัมมันภาพตรังสีปนเปื้อน พร้อมบังคับแจ้งล่วงหน้าก่อนสินค้าเดินทางมาถึงอย่างน้อย 2 วัน เป็นต้น
ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวหากมีการเตรียมพร้อมรับมืออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ว่าอาหารนำเข้ามีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับปริโภค รวมทั้งลดความวิตกกังวลในการแก้ปัญหาด้านความไม่น่าปลอดภัยอาหารของภาครัฐได้อีกทางหนึ่ง
download PDF ย้อนกลับ