สวัสดี

อินเดียกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย สำหรับการใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร

แชร์:
Favorite (38)

10 มกราคม 2563

      เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 หน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยด้านอาหารของอินเดีย (Food Safety and Standards Authority of India : FASSAI) ได้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับการใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ (reusable) มีความปลอดภัยและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศอินเดียมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประกอบกับปัจจุบันเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น ช้อน ส้อม มีด หลอด แก้ว ที่ทำด้วยไม้ไผ่ได้ถูกนำกลับมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแทนผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกเนื่องจากเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดมาตรฐานเบื้องต้นสำหรับวัสดุสัมผัสอาหารที่ทำด้วยไม้ไผ่ที่ขายในท้องตลาด ดังต่อไปนี้

  1. ต้องมีพื้นผิวที่เรียบและปราศจากสิ่งสกปรก ฝุ่นละออง กลิ่นและสี
  2. ต้องปราศจากสารปนเปื้อนทางเคมีและจุลชีพก่อโรค
  3. ต้องมีความทนทานและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  4. ต้องระบุอายุการเก็บรักษาและสถานที่เก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้อย่างชัดเจน
  5. การติดฉลากและการโฆษณาของผลิตภัณฑ์จะต้องไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และสอดคล้องกับส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ตามความเป็นจริง

          นอกจากนี้ FASSAI ยังได้กำหนดแนวทางในการผลิตวัสดุสัมผัสอาหารที่ทำจากไม้ไผ่ และแนวทางการจัดการและการใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุสัมผัสอาหาร ดังนี้

แนวทางการผลิตวัสดุสัมผัสอาหารที่ทำจากไม้ไผ่

  1. ต้องควบคุมการผลิตให้ถูกสุขอนามัย
  2. ผลิตจากไม้ไผ่ที่สามารถรับประทานได้และไม่มีวัตถุดิบอื่น ๆ เจือปน
  3. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์
  4. ฆ่าเชื้อโดยเกลือ สะเดา และน้ำต้มเดือด โดยใช้น้ำดื่มสะอาดเท่านั้นในการล้าง
  5. ทำให้แห้งอย่างถูกสุขอนามัย เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนและมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม

แนวทางการดูแลและการทำความสะอาด มีลักษณะเหมือนกับเครื่องใช้ในครัวทั่วไป คือ

  1. ล้างด้วยสบู่ (สบู่ก้อนสำหรับล้างจาน/สารชะล้าง) และน้ำดื่มสะอาด ซึ่งควรล้างเครื่องใช้ที่ทำจากไม้ไผ่ทันทีหลังการใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารติดฝังแน่น
  2. ใช้แปรงสำหรับทำความสะอาดหลอดที่ทำจากไม้ไผ่และทำความสะอาดส่วนด้านในของหลอดให้ถูกต้อง โดยจะต้องปราศจากสิ่งสกปรกที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  3. ต้องไม่แช่น้ำเป็นเวลานาน
  4. ต้องแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 5 นาที ก่อนนำไปอบให้แห้ง
  5. ต้องทำให้แห้งและเก็บรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนใด ๆ

ที่มา :

  1. DFT. http://www.dft.go.th/th-th/NewsList/News-DFT/Description-News-DFT/ArticleId/13853/13853.
  2. FSSAI. https://www.fssai.gov.in/upload/advisories/2019/09/5d6e4cd671207Letter_ Bamboo_Food_Material_03_09_2019.pdf

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527