สวัสดี

สหภาพยุโรปปรับปรุงระเบียบ Novel Food ใหม่

แชร์:
Favorite (38)

11 กุมภาพันธ์ 2551

EU ปรับปรุงกฎ ระเบียบ Novel Foods ใหม่

มกราคม 2551 คณะกรรมาธิการยุโรปแถลงข่าวการยื่นข้อเสนอเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยอาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ หรือ Novel foods ให้สอดคล้องกับนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนการอนุญาต (authorizationprocedure) ให้อาหารที่มีนวัตกรรมใหม่ (innovative) และมีความปลอดภัย (safe) ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่ายในตลาดสหภาพยุโรปได้เร็วขึ้น และเพื่อลดข้อกีดกันทางการค้าอย่างไม่จำเป็น ขณะที่ยังคงให้ความสำคัญกับการควบคุมความปลอดภัยของอาหารสาระสำคัญของการปรับปรุงกฎ ระเบียบ Novel foods มีดังนี้

1. ขั้นตอนการขออนุญาตและหน่วยงานที่รับผิดชอบผู้ประกอบการต้องยื่นคำขออนุญาตไปที่คณะกรรมาธิการยุโรปเท่านั้น โดยคณะกรรมาธิการฯ จะเป็นผู้ส่งเรื่องต่อไปให้หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหาร (EFSA: European Food SafetyAuthority) เป็นผู้ทดสอบการประเมินความเสี่ยง(riskassessment)

2. การใช้หลักการพิสูจน์ความปลอดภัยของสินค้าที่มีการบริโภคนอกสหภาพยุโรปกรณีที่ผู้ประกอบการในประเทศที่ 3 มีหลักฐานแสดงว่า อาหารนั้นมีการบริโภคอย่างปลอดภัยนอกสหภาพยุโรป ผู้ประกอบการสามารถยื่นความประสงค์ (notification) ขอวางจำหน่ายสินค้าในสหภาพฯ ไปยังคณะกรรมาธิการยุโรปได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะส่งหลักฐานนี้ต่อไปให้ประเทศสมาชิกฯ และ EFSA ถ้าไม่มีข้อโต้แย้งจากประเทศสมาชิกฯ หรือ EFSA ภายใน 5 เดือนผู้ประกอบการในประเทศที่ 3 จะสามารถวางจำหน่ายอาหาร novel food ในตลาดสหภาพยุโรปได้

3. การใช้กฎระเบียบเฉพาะสำหรับอาหารที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs)แยกอาหารที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) ออกจากการควบคุมภายใต้กฎระเบียบnovel foods เพื่อให้ขอบเขตของกฎระเบียบมีความชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากอาหาร GMOs มีกฎระเบียบเฉพาะควบคุมต่างหากมาตั้งแต่ปี 2546 ภายใต้ Regulation (EC) 1829/2003

ภายใต้กฎระเบียบใหม่ได้กําหนดคํานิยาม (definitions)ของอาหาร Novel foodsไว้ดังนี้

1. อาหารที่ไม่ได้ถูกใช้เพื่อการบริโภคในสหภาพยุโรปอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2540 (วันที่บังคับใช้กฎระเบียบ)
2. อาหารที่มีที่มาจากพืชหรือสัตว์ที่ใช้เทคนิคการผสมพันธุ์ที่มิใช่แบบดั้งเดิมหรือแบบที่ยังไม่แพร่หลาย ซึ่งไม่ได้มีการใช้มาก่อนวันที่15 พฤษภาคม 2540
3. อาหารที่มาจากการใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ไม่ได้มีการใช้มาก่อนวันที่15 พฤษภาคม 2540 ซึ่งขั้นตอนการผลิตแบบใหม่นี้ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบ (composition) หรือโครงสร้าง (structure)ของอาหาร ทําให้มีผลกระทบต่อคุณค่าทางอาหาร (nutritional value) หรือการเผาผลาญ (metabolism) หรือระดับของสารเคมี(substances)

ทั้งนี้เมื่อได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมาธิการยุโรปแล้วผู้ประกอบการจะสามารถวางจําหน่ายอาหาร Novel foods ได้ในทุกประเทศที่เป้นสมาชิกสหภาพยุโรป สําหรับการติดฉลากสินค้า Novel foods นั้น ผู้ประกอบการยังคงต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกําหนดตามกฎเกณฑ์กลาง Directive 2000/13/EC ส่วนการอ้างอิงคุณค่าทางอาหารหรือทางสุขอนามัยจะต้องสอดคล้องกับกฎ ระเบียบ Regulation 1924/2006

สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติม :
1. http://ec.europa.eu/food/food/biotechnology/novelfood/index_en.htm
2. http://www.foodstandards.gov.uk/gmfoods/ 
3. สํานักมาตรการทางการค้า. กรมการค้าต่างประเทศ

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527