สวัสดี

ออสเตรเลีย ประกาศเงื่อนไขการใช้และตรวจสอบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในปลาทูน่าและปลากะพงขาว ณ ด่านนำเข้า ฉบับปรับปรุง

แชร์:
Favorite (38)

11 พฤศจิกายน 2561

          เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2561 กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลีย ประกาศอาหารนำเข้าเลขที่ 12-18 เรื่อง การควบคุม ณ ด่านนำเข้า เกี่ยวกับการใช้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปลาทูน่าและปลา  กะพงขาว ฉบับปรับปรุง (IFN 12-18-Board controls for carbon monoxide treatment of tuna and barramundi - amended) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งให้ผู้นำเข้าและตัวแทน (Brokers) ทราบเกี่ยวกับการควบคุม ณ ด่านนำเข้า เพื่อตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์การใช้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในปลาทูน่าแช่เย็นหรือแช่แข็ง และเนื้อปลากะพงขาวแบบหั่นชิ้น และแบบแล่บาง ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  1 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป โดยจะนำมาใช้แทนประกาศ IFN 08-18-Board controls for carbon monoxide treatment of tuna ซึ่งจะครอบคลุมถึงสินค้าเนื้อปลากะพงขาวด้วย

          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่เริ่มมีผลบังคับใช้ กระทรวงเกษตรและทรัพยากรน้ำออสเตรเลียจะดำเนินการตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์ปลาทูน่านำเข้า โดยใช้แผนการตรวจวิเคราะห์อาหารนำเข้าที่อัตราการตรวจสอบร้อยละ 5 และมีหลักเกณฑ์การประเมินตามตาราง ดังต่อไปนี้

เอกสารประกอบ การติดฉลาก การตรวจวิเคราะห์ และเกณฑ์การอนุญาตนำเข้า

เอกสารประกอบและการติดฉลาก

การตรวจวิเคราะห์

เกณฑ์การอนุญาตนำเข้า

ไม่มีเอกสารประกอบหรือการติดฉลากเพื่อระบุว่าสินค้าผ่านการใช้ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์โดยทางตรงหรือทางอ้อม

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์

ไม่เกิน 200 µg/kg

หากตรวจพบเกินกว่าปริมาณที่กำหนดสินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้า

มีการติดตามฉลากระบุว่า ผ่านการรมด้วยก๊าซ   ที่ผ่านการกรอง ซึ่งไม่มีกลิ่นและรส

ไม่ต้องตรวจสอบ

สินค้าต้องระบุอย่างชัดเจนว่า ผ่านการรมควัน (Smoked) หากไม่มีการระบุจะถูกปฏิเสธการนำเข้า

มีการติดฉลากระบุว่า ผ่านการใช้ก๊าซคาร์บอน มอนอกไซด์โดยตรง (เช่น การฉีดก๊าซ)

ไม่ต้องตรวจสอบ

สินค้าถูกปฏิเสธการนำเข้า

 

ที่มา : 1. Australian Government Department of Agriculture and Water Resources.

IFN 12-18 – Border controls for carbon monoxide treatment of tuna and barramundi (amended). http://www.agriculture.gov.au/import/goods/food/notices/ifn12-18. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561.

2. สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงแคนเบอร์รา.

สามารถติดตามข่าวสารกับ FIC ทางสังคมออนไลน์ ได้ที่ (http://www.facebook.com/NFI.FIC)

download PDF ย้อนกลับ

สถาบันอาหาร

อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ เพื่อสถาบันอาหาร

2008 ซ.อรุณอมรินทร์ 36 ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700

Google map

ติดต่อสอบถาม

Email : fic@nfi.or.th
หรือ Call center
contact-img

0-2422-8688 ต่อ 3121
โทรสาร : 02-4228527