มกราคม 2564
ปี 2563 ตลาดกาแฟมีมูลค่า 42,537 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟสด 4,119 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.7 อัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี กาแฟสำเร็จรูป 38,418 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.3 อัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ต่อปี
download PDF
“เครื่องดื่มชาชง” เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโลก และชาชงในประเทศไทยติดอันดับสามของอาเซียน ชาที่นิยมปลูกมี 2 ชนิด คือ 1. ชาจีน นิยมนำมาผลิตเป็นชาอู่หลง ชาเขียว และชาแดง (ชาฝรั่ง) 2. ชาสายพันธุ์อัสสัม (ชาวบ้านเรียกว่า “ต้นเมี่ยง”) นิยมนำมาผลิตเป็นชาดำ ชาเขียว และชาไทย การปลูกชาสายพันธุ์อัสสัมในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่าการปลูกชาสายพันธุ์จีน โดยตั้งแต่ปี 2558 – 2562 ผลผลิตชาสายพันธุ์อัสสัมมีมากกว่า ร้อยละ 90 ของผลผลิตทั้งหมด จากปริมาณที่ผลิตได้ 93,875 ตัน ในขณะที่ผลิตชาจีนได้ 9,039 ตัน คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของผลผลิตชาทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิตชารวมในปี 2562 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 10.6 ผลิตภัณฑ์ชาตามท้องตลาดที่แปรรูปมาจากชาในประเทศไทยนั้น เป็นชาที่ปลูกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย โดยปลูกมากที่สุดในจังหวัดเชียงราย รองลงมา ได้แก่ เชียงใหม่ แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน เป็นต้น และสามารถปลูกแบบอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันกระแสความนิยมบริโภคสินค้าปลอดภัย ไม่ปรุงแต่งมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
“ผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ” (Other Dairy Product) ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์เนย (Butter) และเนยแข็งหรือที่นิยมเรียกว่าชีส (Cheese) โดยผลิตภัณฑ์เนยมักถูกใช้เป็นส่วนประกอบในขนมหวานและเบเกอรี่ จึงอาจกล่าวได้ว่าแนวโน้มการเติบโตของตลาดเนยขึ้นอยู่กับตลาดขนมหวานและเบเกอรี่ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดเบเกอรี่ฯ ในประเทศมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีร้านเบเกอรี่ใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเบเกอรี่โฮมเมดซึ่งมักเลือกใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มบน ส่งผลให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เนยเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
ตลาดบิสกิต สแน็คบาร์ และขนมรสผลไม้ในประเทศไทย เมื่อปี 2562 มีมูลค่าประมาณ 13,880 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มบิสกิต มูลค่า 12,433.1 ล้านบาท กลุ่มสแน็คบาร์ มูลค่า 105.9 ล้านบาท และกลุ่มขนมผลไม้ มูลค่า 1,341.2 ล้านบาท โดยจะเห็นว่าตลาดกลุ่มนี้มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องการเข้ามาแบ่งส่วนตลาด ส่งผลให้การแข่งขันในตลาดบิสกิต สแน็คบาร์ และขนมรสผลไม้ในประเทศไทยมีการแข่งขันค่อนข้างสูง จึงทำให้ผู้ผลิตรายเดิมและรายใหม่ต้องหาวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือรสชาติใหม่เพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาสนใจและเลือกซื้อสินค้าของตนเองให้มากที่สุด